เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
วัฒนาพร
ระงับทุกข์ (2545 : 177 – 195) อ้างใน อาภรณ์
ใจเที่ยง (2550 : 123 –
125) กล่าวถึง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ว่า เทคนิคที่นำมาใช้ในการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลายวิธี
ได้แนะนำไว้ดังนี้
1.
ปริศนาความคิด
(Jigsaw)
ปริศนาความคิด
เป็นเทคนิคที่สมาชิกในกลุ่มแยกย้ายกันไปศึกษาหาความรู้ ในหัวข้อเนื้อหาที่แตกต่างกัน แล้วกลับเข้ากลุ่มมาถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาให้สมาชิกกลุ่มฟัง วิธีนี้คล้ายกับการต่อภาพจิกซอร์ จึงเรียกวิธีนี้ว่า Jigsaw หรือปริศนาการคิด
ลักษณะการจัดกิจกรรม
ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันเข้ากลุ่มร่วมกันเรียกว่า กลุ่มบ้าน
(Home Group)
สมาชิกในกลุ่มบ้านจะรับผิดชอบศึกษาหัวข้อที่แตกต่างกัน
แล้วแยกย้ายไปเข้ากลุ่มใหม่ในหัวข้อเดียวกัน กลุ่มใหม่นี้เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทำงานร่วมกันเสร็จ ก็จะย้ายกลับไปกลุ่มเดิมคือ กลุ่มบ้านของตน นำความรู้ที่ได้จากการอภิปรายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมาสรุปให้กลุ่มบ้านฟัง ผู้สอนทดสอบและให้คะแนน
2.
กลุ่มร่วมมือแข่งขัน (Teams – Games – Toumaments : TGT)
เทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน
เป็นกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้เนื้อหาสาระจากผู้สอนด้วยกัน แล้วแต่ละคนแยกย้ายไปแข่งขันทดสอบความรู้ คะแนนที่ได้ของแต่ละคนจะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนรวมสูงสุดได้รับรางวัล
ลักษณะการจัดกิจกรรม
สมาชิกกลุ่มจะช่วยกันเตรียมตัวเข้าแข่งขัน
โดยผลัดกันถามตอบให้เกิดความแม่นยำในความรู้ที่ผู้สอนจะทดสอบ เมื่อได้เวลาแข่งขัน แต่ละทีมจะเข้าประจำโต๊ะแข่งขัน แล้วเริ่มเล่นเกมพร้อมกันด้วยชุดคำถามที่เหมือนกัน เมื่อการแข่งขันจบลง ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะกลับไปเข้าทีมเดิมของตนพร้อมคะแนนที่ได้รับ ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดถือว่าเป็นทีมชนะเลิศ
3.
กลุ่มร่วมมือช่วยเหลือ (Team
Assisted Individualization : TAT)
เทคนิคการเรียนรู้วิธีนี้
เป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนได้แสดงความสามารถเฉพาะตนก่อน แล้วจึงจับคู่ตรวจสอบกันและกัน ช่วยเหลือกันทำใบงานจนสามารถผ่านได้
ต่อจากนั้นจึงนำคะแนนของแต่ละคนมารวมเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นฝ่ายได้รับรางวัล
ลักษณะการจัดกิจกรรม
กลุ่มจะมีสมาชิก
2
– 4 คน จับคู่กันทำงานตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจผลงาน ถ้าผลงานยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ต้องแก้ไขจนกว่าจะผ่าน
ต่อจากนั้นทุกคนจะทำข้อทดสอบ คะแนนของทุกคนจะมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม
กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล
4.
กลุ่มสืบค้น
(Group Investigation : GI)
กลุ่มสืบค้น เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหาความรู้มานำเสนอ ประกอบเนื้อหาที่เรียน อาจเป็นการทำงานตามใบงานที่กำหนด โดยที่ทุกคนในกลุ่มรับรู้และช่วยกันทำงาน
ลักษณะการจัดกิจกรรม
สมาชิกกลุ่มจะช่วยกันศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ หรือความรู้มานำเสนอต่อชั้นเรียน โดยผู้สอนแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย แต่ละกลุ่มศึกษากลุ่มละ 1 หัวข้อ เมื่อพร้อม ผู้เรียนจะนำเสนอ
ผลงานทีละกลุ่ม แล้วร่วมกันประเมินผลงาน
5.
กลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning
Together : LT)
กลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน
เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมที่ให้สมาชิกในกลุ่มได้รับผิดชอบ มีบทบาทหน้าที่ทุกคน เช่น
เป็นผู้อ่าน เป็นผู้จดบันทึก เป็นผู้รายงานนำเสนอ เป็นต้น
ทุกคนช่วยกันทำงาน
จนได้ผลงานสำเร็จ
ส่งและนำเสนอผู้สอน
ลักษณะการจัดกิจกรรม
กลุ่มผู้เรียนจะแบ่งหน้าที่กันทำงาน เช่น
เป็นผู้อ่านคำสั่งใบงาน
เป็นผู้จดบันทึกงาน เป็นผู้หาคำตอบ เป็นผู้ตรวจคำตอบ เป็นต้น
กลุ่มจะได้ผลงานที่เกิดจากการทำงานของทุกคน
6.
กลุ่มร่วมกันคิด (Numbered Heads
Together : NHT)
กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับการทบทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจ
สมาชิกกลุ่มจะประกอบด้วยผู้เรียนที่มีความสามารถเก่ง ปานกลาง
และอ่อนคละกัน
จะช่วยกันค้นคว้าเตรียมตัวตอบคำถามที่ผู้สอนจะทดสอบ ผู้สอนจะเรียกถามทีละคน
กลุ่มที่สมาชิกสามารถตอบคำถามได้มากแสดงว่าได้ช่วยเหลือกันดี
ลักษณะการจัดกิจกรรม
สมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน
จะร่วมกันอภิปรายปัญหาที่ได้รับเพื่อให้เกิดความพร้อมและความมั่นใจที่จะตอบคำถามผู้สอน ผู้สอนจะเรียกสมาชิกกลุ่มให้ตอบทีละคน แล้วนำคะแนนของแต่ละคนมารวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
7.
กลุ่มร่วมมือ (Co – op
Co - op)
กลุ่มร่วมมือเป็นเทคนิคการทำงานกลุ่มวิธีหนึ่ง
โดยสมาชิกในกลุ่มที่มีความสามารถและความถนัดแตกต่างกันได้ แสดงบทบาทตามหน้าที่ที่ตนถนัดอย่างเต็มที่ ทำให้งานประสบผลสำเร็จ
วิธีนี้ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกความรับผิดชอบการทำงานกลุ่มร่วมกัน และสนองต่อหลักการของการเรียนรู้ และร่วมมือที่ว่า “ความสำเร็จแต่ละคน คือ
ความสำเร็จของกลุ่ม ความสำเร็จของกลุ่ม คือ ความสำเร็จของทุกคน”
ลักษณะการจัดกิจกรรม
สมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไปศึกษาหัวข้อย่อยทีได้รับมอบหมาย
แล้วนำงานจากการศึกษาค้นคว้ามารวมกันเป็นงานกลุ่มปรับปรุงให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง มีความสละสลวย
เสร็จแล้วจึงนำเสนอต่อชั้นเรียน
ทุกกลุ่มจะช่วยกันประเมินผลงาน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นอย่างแท้จริง ได้ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกเป็นผู้นำ
ผู้ตามกลุ่มฝึกการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
และฝึกทักษะทางสังคม
ผู้สอนควรเลือกใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ
ดังกล่ามาให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วิธีการเรียนแบบร่วมมือ
วันเพ็ญ จันทร์เจริญ (2542 : 119-128) กล่าวถึง วิธีการเรียนแบบร่วมมือที่นิยมใช้กันมีเทคนิคสำคัญ 2
แบบ คือ แบบเป็นทางการ (Formal
cooperative learning) และแบบไม่เป็นทางการ (Informal cooperative
learning)
1. การเรียนแบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
มีดังนี้
1.1
เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (Team – Games
– Tournament
หรือ TGT) คือ
การจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
กลุ่มละ 4 คน ระดับความสามารถต่างกัน (Heterogeneous teams)
คือ
นักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง
2 คน และอ่อน
1 คน ครูกำหนดบทเรียนและการทำงานของกลุ่มเอาไว้ ครูทำการสอนบทเรียนให้นักเรียนทั้งชั้นแล้วให้กลุ่มทำงานตามที่กำหนด นักเรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน
เด็กเก่งช่วยและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งครู แล้วจัดกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มแข่งขันที่มีความสามารถเท่า
ๆ กัน (Homogeneous tournament
teams)
มาแข่งขันตอบปัญหาซึ่งจะมีการจัดกลุ่มใหม่ทุกสัปดาห์ โดยพิจารณาจากความสามารถของแต่ละบุคคล
คะแนนของกลุ่มจะได้จากคะแนนของสมาชิกที่เข้าแข่งขันร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ
ร่วมกัน
แล้วมีการมอบรางวัลให้แก่กลุ่มที่ได้คะแนนสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
1.2
เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams
Achievement
Divisions หรือ STAD) คือ
การจัดกลุ่มเหมือน TGT แต่ไม่มีการแข่งขัน โดยให้นักเรียนทุกคนต่างคนต่างทำข้อสอบ แล้วนำคะแนนพัฒนาการ (คะแนนที่ดีกว่าเดิมในการสอบครั้งก่อน)
ของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม
และมีการให้รางวัล
1.3
เทคนิคการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล (Team
Assisted
Individualization หรือ TA) เทคนิคนี้เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ ใช้สำหรับระดับประถมปีที่ 3 – 6 วิธีนี้สมาชิกกลุ่มมี 4 คน มีระดับความรู้ต่างกัน
ครูเรียกเด็กที่มีความรู้ระดับเดียวกันของแต่ละกลุ่มมาสอนตามความยากง่ายของเนื้อหา วิธีที่สอนจะแตกต่างกัน เด็กกลับไปยังกลุ่มของตน
และต่างคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมายแต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการให้รางวัลกลุ่มที่ทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม
1.4
เทคนิคโปรแกรมการร่วมมือในการอ่านและเขียน (Cooperative
Integrated Reading
and Composition หรือ CIRC) เทคนิคนี้ใช้สำหรับวิชา อ่าน
เขียน และทักษะอื่น ๆ ทางภาษา สมาชิกในกลุ่มมี 4
คน
มีพื้นความรู้เท่ากัน 2 คน อีก 2 คน ก็เท่ากัน
แต่ต่างระดับความรู้กับ 2 คนแรก
ครูจะเรียกคู่ที่มีความรู้ระดับเท่ากันจากกลุ่มทุกกลุ่มมาสอน ให้กับเข้ากลุ่ม แล้วเรียกคู่ต่อไปจากทุกกลุ่มมาสอน คะแนนของกลุ่มพิจารณาจากคะแนนสอบของสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคล
1.5
เทคนิคการต่อภาพ (Jigsaw) เทคนิคนี้ใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 - 6
สมาชิกในกลุ่มมี 6
คน
ความรู้ต่างระดับกัน
สมาชิกแต่ละคนไปเรียนร่วมกันกับสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ ในหัวข้อที่ต่างกันออกไป แล้วทุกคนกลับมากลุ่มของตน
สอนเพื่อนในสิ่งที่ตนไปเรียนร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ มา การประเมินผลเป็นรายบุคคลแล้วรวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
1.6
เทคนิคการต่อภาพ 2
(Jigsaw II) เทคนิคนี้สมาชิกในกลุ่ม 4 – 5 คน
นักเรียนทุกคนสนใจเรียนบทเรียนเดียวกัน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มให้ความสนใจในหัวข้อย่อยของบทเรียนต่างกัน ใครที่สนใจหัวข้อเดียวกันจะไปประชุมกัน ค้นคว้าและอภิปราย แล้วกลับมาที่กลุ่มเดิมของตนสอนเพื่อนในเรื่องที่ตนเองไปประชุมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นมา ผลการสอบของแต่ละคนเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ทำคะแนนรวมได้ดีกว่าครั้งก่อน (คิดคะแนนเหมือน STAD)
จะได้รับรางวัล ขั้นตอนการเรียนมีดังนี้
1)
ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย
ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละ
กลุ่ม
2)
จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็นกลุ่มบ้าน
(Home group) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น
โดยใช้เวลาตามที่ครูกำหนด
3)
จากนั้นนักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน
เพื่อทำงาน ซักถาม
และทำกิจกรรม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert group) สมาชิกทุก ๆ คน ร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้เวลาตามที่ครูกำหนด
4)
นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (Home group)
ของตน
จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อยที่ 1, 2, 3
และ 4 เป็นต้น
5)
ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1 – 4 กับนักเรียนทั้งห้อง
คะแนนของสมาชิก
แต่ละคนในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ
1.7
เทคนิคการตรวจสอบเป็นกลุ่ม (Group Investigation) เทคนิคนี้สมาชิก
ในกลุ่มมี
2
– 6 คน
เป็นรูปแบบที่ซับซ้อน
แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้า
สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทั้งกลุ่มมีการวางแผนการดำเนินงานตามแผน การวิเคราะห์
การสังเคราะห์งานที่ทำ
การนำเสนอผลงานหรือรายงานต่อหน้าชั้น
การให้รางวัลหรือให้คะแนนเป็นกลุ่ม
1.8
เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning
Together) วิธีนี้สมาชิกในกลุ่มมี 4
– 5
คน ระดับความรู้ความสามารถต่างกัน ใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 6 โดยครูทำการสอนทั้งชั้น เด็กแต่ละกลุ่มทำงานตามที่ครูมอบหมาย คะแนนของกลุ่มพิจารณาจากผลงานของกลุ่ม
1.9
เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่ม (Co – op – Co - op) ซึ่งเทคนิคนี้
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง
ๆ ดังนี้คือ นักเรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษา แบ่งหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อย แล้วจัดนักเรียนเข้ากลุ่มตามความสามารถที่แตกต่างกัน
กลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจของกลุ่ม กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยออกเป็นหัวข้อเล็ก ๆ
เพื่อนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มเลือกไปศึกษา
และมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนภายในกลุ่ม
แล้วนักเรียนเลือกศึกษาเรื่องที่ตนเลือกและนำเสนอต่อกลุ่ม กลุ่มรวบรวมหัวข้อต่าง ๆ
จากนักเรียนทุกคนภายในกลุ่ม
แล้วรายงานผลงานต่อชั้นและมีการประเมินผลงานของกลุ่ม
เทคนิคทั้ง 9
ดังกล่าวข้างต้นนี้
ส่วนมากจะใช้ตลอดคาบการเรียนหรือตลอด
กิจกรรมการเรียนในแต่ละคาบ เรียกการเรียนแบบร่วมมือประเภทนี้ว่า การเรียนแบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ (Formal
cooperative Learning) แต่ยังมีเทคนิคอื่น ๆ
อีกจำนวนมากที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละคาบ อาจใช้ในขั้นนำ สอดแทรกในขั้นสอนตอนใด ๆ
ก็ได้ หรือใช้ในขั้นสรุป หรือขั้นทบทวน
หรือขั้นวัดผล
เรียกการเรียนแบบร่วมมือประเภทนี้ว่า
การเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (Informal
cooperative learning) ดังนี้
2. การเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
คาเกน (Kagan 1994 อ้างใน พิมพันธ์
เดชะคุปต์,
2541 : 43)) ได้ออกแบบ
เทคนิคการเรียนแบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการไว้ถึง 52
เทคนิค
ในที่นี้จะขอแนะนำเทคนิคของการเรียนแบบร่วมมือแบบไม่เป็นทางการจำนวน 9
เทคนิค ซึ่งเป็นเทคนิคที่กระทำได้ง่ายจึงสะดวกที่จะนำไปใช้ ดังนี้
2.1
การพูดเป็นคู่ (Rally
Robin) เป็นเทคนิคเปิดโอกาสให้นักเรียนพูด ตอบ
แสดงความคิดเห็นเป็นคู่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนใช้เวลาเท่า ๆ
กัน หรือใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น
กลุ่มมีสมาชิก 4 คน
แบ่งเป็น 2 คู่ คู่หนึ่งประกอบด้วยสมาชิกคนที่ 1 และคนที่
2 แต่ละคู่จะพูดพร้อมๆ กันไป
โดย 1 พูด 2 ฟัง
ในเวลาที่กำหนด จากนั้น 2
พูด 1 ฟัง
ในเวลาที่กำหนดเช่นกัน
2.2
การเขียนเป็นคู่ (Rally Table)
เป็นเทคนิคคล้ายกับการพูดเป็นคู่ ทุก
ประการต่างกันเพียงการเขียนเป็นคู่ เป็นการร่วมมือเป็นคู่ ๆ โดยผลัดกันเขียน หรือวาด
(ใช้อุปกรณ์ กระดาษ 2 แผ่นและปากกา 2
ด้ามต่อกลุ่ม)
2.3
การพูดรอบวง (Round Robin)
เป็นเทคนิคที่สมาชิกของกลุ่มผลัดกันพูด
ตอบ
เล่า อธิบาย โดยไม่ใช้การเขียน การวาด
และเป็นการพูดที่ผลัดกันทีละคนตามเวลาที่กำหนด จนครบ
4 คน
2.4
การเขียนรอบวง (Roundtable)
เป็นเทคนิคที่เหมือนกับการพูดรอบวง
แตกต่างกันที่เน้นการเขียน การวาด
(ใช้อุปกรณ์ กระดาษ 1 แผ่น และปากกา 1
ด้ามต่อกลุ่ม) วิธีการคือ
ผลัดกันเขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ทีละคนตามเวลาที่กำหนด
เทคนิคนี้อาจดัดแปลงให้สมาชิกทุกคนเขียนคำตอบ หรือบันทึกผลการคิดพร้อม ๆ กันทั้ง 4
คน ต่างคนต่างเขียนในเวลาที่กำหนด (ใช้อุปกรณ์ : กระดาษ 4
แผ่น และปากกา 4 ด้าม) เรียกเทคนิคนี้ว่าการเขียนพร้อมกันรอบวง (Simultaneous Roundtable)
2.5
การแก้ปัญหาด้วยการต่อภาพ (Jigsaw Problem
Solving) เป็นเทคนิคที่
สมาชิกแต่ละคนคิดคำตอบของตนเองไว้จากนั้นกลุ่มนำคำตอบของทุก
ๆ คนมาร่วมกันอภิปราย เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด ดังภาพ
2.6
คิดเดี่ยว คิดคู่
ร่วมกันคิด (Think Pair
Share) เป็นเทคนิคโดยเริ่มจาก
ปัญหาหรือโจทย์คำถาม โดยสมาชิกแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน แล้วนำคำตอบไปอภิปรายกับเพื่อนเป็นคู่
จากนั้นจึงนำคำตอบของแต่ละคู่มาอภิปรายพร้อมกัน 4
คน
เมื่อมั่นใจว่าคำตอบของตนถูกต้องหรือดีที่สุด จึงนำคำตอบเล่าให้เพื่อนฟัง
2.7
อภิปรายเป็นคู่ (Pair
Discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อครูถามคำถาม หรือ
กำหนดโจทย์แล้ว ให้สมาชิกที่นั่งใกล้กันร่วมกันคิด และอภิปรายเป็นคู่
2.8
อภิปรายเป็นทีม (Team
Discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อครูตั้งคำถามแล้ว
ให้สมาชิกของกลุ่มทุก ๆ
คน ร่วมกันคิด พูด
อภิปรายพร้อมกัน
2.9
ทำเป็นกลุ่ม ทำเป็นคู่
และทำคนเดียว (Team - pair
- Solo) เป็น
เทคนิคที่เมื่อครูกำหนดปัญหา หรือโจทย์
หรืองานให้ทำ
แล้วสมาชิกจะทำงานร่วมกันทั้งกลุ่มจนงานแล้วเสร็จ
จากนั้นจะแบ่งสมาชิกเป็นคู่ให้ทำงานร่วมกันเป็นคู่จนงานสำเร็จแล้วถึงขั้นสุดท้าย ให้สมาชิกแต่ละคนทำงานคนเดียวจนสำเร็จ
การเรียนแบบร่วมมือกำลังได้รับความสนใจในหมู่นักการศึกษา ครู
อาจารย์
ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
การเรียนแบบร่วมมือมีทั้งเทคนิคที่นำมาใช้ได้โดยตรงโดยไม่ต้องปรับและเทคนิคที่ต้องปรับเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาวิชา อย่างไรก็ตาม
การเรียนแบบร่วมมือก็นับเป็นวิธีการสอนอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น