ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ
วันเพ็ญ จันเจริญ (2542 : 119) กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ
มีดังนี้
1.
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
ทุก ๆ
คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน
2.
สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูดแสดงออก
แสดงความคิดเห็น ลงมือกระทำ
อย่างเท่าเทียมกัน
3.
เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน เช่น
เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง
ทำให้เด็กเก่ง
ภาคภูมิใจ รู้จักสละเวลา
ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
4.
ร่วมกันคิดทุกคน ทำให้เกิดการระดมความคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณา
ร่วมกัน เพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาก และวิเคราะห์และตัดสินใจเลือก
5.
ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น
การอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เข้าใจกันและกัน อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
หลักการนำวิธีการสอนแต่ละวิธีไปใช้ในการสอน
วิธีสอนทั่วไปเป็นวิธีการปลีกย่อยที่ครูสามารถนำมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทุก ๆ
ขั้นตอน
ไม่ว่าจะเป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน ขั้นสรุป
และขั้นปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโยงการเรียนรู้ เพราะถ้าเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดังการแต่งกายของบุคคล
วิธีสอนก็เปรียบเทียบเครื่องประดับที่ติดอยู่บนชุดต่าง ๆ สำหรับใช้แต่งกายของคนเรา โดยรูปแบบของชุดเปรียบได้กับรูปแบบการสอนที่นำมาใช้นั่นเอง ดังนั้น
การแต่งกายจะดีหรือไม่เพียงใดอยู่ที่การเลือกแต่งกายให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
โดยมีชุดและเครื่องประดับที่เหมาะสมกลมกลืนกัน และกิจกรรมการเรียนการสอน รูปแบบการสอน
และวิธีการสอนก็เช่นเดียวกัน
วิธีสอนที่ใช้กันโดยแพร่หลาย ได้แก่
วิธีสอนแบบบรรยาย
ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กับคนหมู่มาก
มีเวลาในการสอนจำกัดในขณะที่มีเนื้อหาที่ต้องสอนมาก
ผู้เรียนส่วนมากต้องเป็นผู้ใหญ่หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาขึ้นไปเพราะต้องใช้ความสนใจในเนื้อหามาก
การบรรยายเป็นวิธีสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้จะเกิดได้ดีเพียงใดอยู่ที่ผู้บรรยายหรือตัวครูเป็นหลัก เพราะถ้าหากครูมีความสามารถสูงมีวิธีการอื่นๆ มาแทรก
มีทักษะและเทคนิคการบรรยายได้ดี
ก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ได้มาก
ในขณะที่วิธีสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นผู้กระทำศึกษาและค้นคว้าแล้วนำมาแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เป็นการหาความรู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และได้ทักษะกระบวนการกลุ่มอีกด้วย
เนื่องจากการอภิปรายมีรูปแบบและเทคนิคหลายวิธีจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามรูปแบบ วิธีการและวัตถุประสงค์ของการใช้นั้น ๆ
โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างการอภิปรายกลุ่มย่อยกับการจัดสัมมนานั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้ง
ๆ ที่เป็นการอภิปรายเหมือนกัน
ในขณะที่เชื่อกันว่าวิธีการแบบนี้ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้กระทำจริง
แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกและมีปัญหาเรื่องการพูดนำเสนองาน
วิธีสอนแบบทดลองใช้สำหรับการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ โดยมุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ทางด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ออกมาใช้ในการทดลองพิสูจน์หลักการและทฤษฎีต่าง
ๆ
โดยผู้เรียนเป็นผู้ทดลองโดยมีครูคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ข้อดีของวิธีสอนแบบนี้เป็นการสอนที่มุ่งให้นักเรียนเป็นผู้กระทำจริง
(learning by doing) เครื่องมือในการทำลองมีราคาสูง
มีข้อจำกัดเรื่องของสถานที่และวิชาที่ศึกษาพอสมควร วิธีการสอนที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งคือ
กาสาธิตเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ในการทำงานหรือปฏิบัติงานอย่างชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งอย่างถ่องแท้ให้ผู้เรียนเห็นกระบวนการทำ เข้าใจความคิดรวบยอดและเชื่อถือศรัทธาต่อผู้สอนและบทเรียน
ข้อดีของวิธีการนี้สามารถใช้ในการประกอบการสอนทักษะได้อย่างดี
วิธีการสอนโดยใช้การจำลองสถานการณ์
การสอนแบบนี้เป็นการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเตรียมพบสถานการณ์จริงในอนาคต เป็นการจำลองเหตุการณ์ก่อนออกปฏิบัติงาน โดยเน้นการพิจารณากระบวนการทั้งหมดของสถานการณ์ว่ามีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
โดยถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์จริงที่เกิดแน่นอนในอนาคต ซึ่งวิธีการนี้แตกต่างจากวิธีสอนแบบบทบาทสมมุติตรงที่บทบาทสมมุติมุ่งที่สมมุติให้ผู้เรียนสวมบทบาทของใครคนใดคนหนึ่งเพราะเล่นสมมุติเป็นบุคคล ดังนั้น
คุณค่าของการแสดงอยู่ที่ความสมจริงกับพฤติกรรมของคนที่ถูกสวม โดยมุ่งพัฒนาเจตคติ ค่านิยม
และการแก้ปัญหา
ซึ่งยังไม่ทราบวิธีการที่แน่ชัด
บทบาทวิธีการสอนแบบโครงงานเป็นการจัดทำวิธีง่าย
ๆ
โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาให้ผู้เรียนหาความรู้ความจริงในโครงการที่กำหนดขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อส่งเสริมการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยผู้เรียนเองในสถานการณ์จริง
โดยผู้เรียนศึกษาและวิจัยอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้วจึงนำเสนอผลงาน
ขณะที่การศึกษานอกสถานที่ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรงจากการเรียน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานมีชีวิตชีวา
แต่ข้อจำกัดอยู่ที่กระบวนการไปศึกษาต้องเตรียมการอย่างดี และเตรียมแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นได้
วิธีสอนทั่วไป
หมายถึง วิธีการที่เป็นแนวในการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยเฉพาะวิธีสอนทั่วไปนั้น
เป็นวิธีสอนขั้นพื้นฐานที่ผู้เริ่มเป็นครูพึงทราบและสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งวิธีสอนขั้นพื้นฐานมีหลายวิธี เช่น
การบรรยาย การอภิปราย การทดลอง
การสาธิต การจำลองสถานการณ์
การสอนแบบโครงการ ฯลฯ หลักในการนำวิธีสอนไปใช้นั้น ต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน
ตลอดจนวัตถุประสงค์
และเนื้อหาสาระในการสอน
ดังนั้น
หากครูมีความรู้พื้นฐานด้านวิธีสอน
แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีสอนอื่นๆ
เพื่อจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี (ชาญชัย ยมดิษฐ์, 2548 : 230)
การผสมผสานวิธีสอนแบบต่าง
ๆ
ปรีชา
คัมภีรปกรณ์ (2540 : 275) กล่าวว่า
ตามทฤษฎีการสอนนั้นไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งจะใช้ได้ผลในการถ่ายทอดความรู้ เจตคติ
และทักษะได้ดีที่สุด การเลือกวิธีสอนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน เช่น
เนื้อหาวิธีที่สอน
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
ธรรมชาติของผู้เรียน
และเวลาที่ใช้ในการสอน
ซึ่งนักศึกษาได้ศึกษารายละเอียดมาแล้ว
การที่จะให้เกิดประสิทธิผลในการสอนให้มากที่สุดนั้น
ผู้สอนจำเป็นจะต้องใช้วิธีผสมผสานวิธีสอนแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพราะความจำเป็นดังนี้
1)
วัตถุประสงค์ของการสอน ในการเรียนการสอนบทเรียนหนึ่ง ๆ
นั้นมักจะกำหนด
ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ
และทักษะซึ่งดังได้กล่าวมาแล้วว่ายังไม่สามารถจะใช้วิธีการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดผลดังกล่าวทั้ง 3
ประการได้
2)
ผู้เรียน เรายอมรับว่าผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าหากเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้รับการสอนแบบต่าง
ๆ
ทำให้โอกาสที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็จะมีมากขึ้น
3)
บรรยากาศของการสอน ในการสอนบทเรียนหนึ่งในบางครั้งกินเวลามาก ถ้า
หากผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบเดียวจะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น ผลการเรียนการสอนจะไม่ดีเท่าที่ควร
4)
ผู้สอน การใช้วิธีการสอนหลายแบบจะทำให้ผู้สอนต้องตื่นตัวและกระฉับกระเฉง
ไม่เบื่อหน่าย
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเห็นว่าในการสอนบทเรียนพึงควรจะประกอบด้วยวิธีสอน
หลาย
ๆ แบบ
ส่วนจะใช้แบบใดหรือวิธีใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน เช่น
อาจจะเริ่มจากการอภิปราย
บรรยาย ฝึกปฏิบัติ หรือเริ่มจากการบรรยาย ฝึกปฏิบัติ
และอภิปรายก็ได้
เหตุผลของการผสมผสานการสอนแบบต่าง
ๆ
ปรีชา คัมภีรปกรณ์ (2540 : 161-162) ได้กล่าวไว้ว่า
การสอนมีอยู่มากมายหลายแบบ
แบบที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เช่น
การบรรยาย การสาธิต การใช้คำถาม
เป็นต้น
หรือแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนซึ่งมีทั้งที่เน้นเป็นกลุ่มหรือที่เป็นรายบุคคล เช่น การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบสืบสวนสอบสวน การสอนแบบแก้ปัญหา การใช้แบบเรียนแบบโปรแกรม การสอนแบบให้เรียนโดยอิสระ ฯลฯ
จากวิธีการสอนดังกล่าวจะพบว่าการสอนแบบหนึ่ง
ๆ ย่อมมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง
มีการใช้ประโยชน์ได้เฉพาะอย่าง
ดังนั้นในการสอนบทเรียนบทหนึ่ง ๆ ชั่วโมงหนึ่ง ๆ หรือในหน่วยการเรียนหนึ่ง ๆ
จึงเกิดปัญหาว่าจะใช้การสอนแบบใดจึงจะเหมาะสมในบางกรณีบาง
บทเรียนอาจต้องใช้การสอนมากกว่าหนึ่งแบบขึ้นไป การสอนแบบเดียวอาจไม่สนองต่อวัตถุประสงค์ของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียน หรือกลุ่มผู้เรียน เป็นต้น
จึงต้องมีการผสมผสานการสอนหลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน
ถ้าจะสรุปเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการผสมผสานการสอนแบบต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน อาจได้เหตุผลดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
ในการสอนบทเรียนบทหนึ่ง
ๆ หรือการสอนครั้งหนึ่ง ๆ
ผู้สอนมักจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมครอบคลุมในด้านเนื้อหา เจตคติ
และทักษะ
เพื่อครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษา
ตามที่บลูมกำหนด
ในแง่ของพุทธิพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย
นั่นเอง ซึ่งปรากฏว่าการสอนแบบใดแบบหนึ่งนั้นอาจไม่สามารถสนองวัตถุประสงค์ทั้ง 3
ด้าน ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นในการสอนครั้งหนึ่งย่อมต้องการการสอนหลาย
ๆ แบบผสมผสานกันไป
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2.
ผู้เรียน
โดยทั่วไปกลุ่มผู้เรียนในห้องเรียนมีความแตกต่างกันในเรื่องของความถนัด ความ
สามารถและความสนใจ การใช้วิธีการสอนเพียงแบบเดียว ย่อมไม่สนองกับความต้องการของผู้เรียนเหล่านั้น
ถ้าหากผู้สอนใช้วิธีการสอนหลาย
ๆ แบบผสมผสานด้วยกันย่อมเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้แสดงความสามารถ ความถนัดของตนได้อย่างเต็มที่
ทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในการเรียนของตนยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นจะพบว่าความสนใจของกลุ่มผู้เรียนยังไม่คงที่ เป็นต้นว่าตอนต้น ๆ
ชั่วโมงผู้เรียนจะมีความกระตือรือร้น แต่พอถึงกลาง ๆ ชั่วโมงหรือท้ายชั่วโมง ความกระตือรือร้นของผู้เรียนจะลดลง ดังนั้นจึงไม่ควรสอนโดยใช้การสอนแบบเดียวตลอดทั้งชั่วโมง
3.
บรรยากาศของการเรียนการสอน
การเรียนการสอนในชั่วโมงหนึ่ง
ๆ หรือคาบหนึ่ง ๆ ถ้าผู้สอนใช้วิธีการสอนเพียง
แบบเดียวโดยไม่เปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ต้นชั่วโมงจนถึงท้ายชั่วโมง จะทำให้บรรยากาศ น่าเบื่อหน่าย
ไม่มีความตื่นเต้นน่าสนใจ
โดยเฉพาะถ้าผู้สอนยึดการสอนที่ให้ตนเองเป็นศูนย์กลางด้วยแล้ว บรรยากาศของการเรียนการสอนจะน่าเบื่อหน่ายมาก
เพราะผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเท่าที่ควร
แต่ถ้าผู้สอนจะนำวิธีการสอนแบบต่าง ๆ
มาผสมผสานเข้าด้วยกัน มีกิจกรรม
การเรียนการสอนหลาย
ๆ แบบอันจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้
ย่อมทำให้บรรยากาศของการเรียนการสอนน่าสนใจ ผู้เรียนจะรู้สึกตื่นเต้น
และมีความต้องการที่จะเรียนโดยไม่คิดว่าถูกบังคับ
4. ผู้สอน
โดยปกติผู้สอนมักจะใช้การสอนแบบเดียวในการสอนครั้งหนึ่ง
ๆ โดยเฉพาะจะเลือก
การสอนแบบที่ตนถนัดและคิดว่าจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้ การเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนมีความถนัดเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะมีความซ้ำซาก อีกทั้งผูสอนเองก็เบื่อหน่ายเช่นกัน เพราะจะต้องปฏิบัติกิจกรรมซ้ำ ๆ ทุกวัน ๆ
แต่ถ้าผู้สอนใช้วิธีการสอนโดยผสมผสานการสอนหลาย
ๆ แบบแล้ว นอกจากทำให้
ผู้เรียนเกิดความสนใจ ความสนุกสนานในการเรียนแล้ว ยังจะทำให้การเรียนการสอนในชั่วโมงนั้น ๆ
มีความหมายรวมเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศของผู้สอนเองอีกด้วย
เงื่อนไขการเลือกวิธีการสอนแบบต่าง
ๆ
ปรีชา
คัมภีรปกรณ์ (2540 :
162-163) กล่าวไว้ว่า การสอนแบบหนึ่งย่อมเหมาะสมกับสภาพการณ์หรือวัตถุประสงค์หนึ่ง ดังนั้นในการพิจารณาว่าบทเรียนนั้น ๆ
จะใช้วิธีการสอนแบบใดบ้าง
และจะผสมผสานวิธีการสอนอย่างไร
จึงจะเหมาะสม
ถือว่าเป็นดุลพินิจของผู้สอนเอง
ในที่นี้ใคร่ขอเสนอเงื่อนไขประกอบการพิจารณาในการเลือกวิธีการสอนให้เหมาะสม โดยมีข้อพิจารณาดังนี้
1.
เนื้อหาที่สอน เนื้อหาที่จะสอนนั้น ถือว่าเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาที่สำคัญ เป็นเครื่องคัดว่าจะนำการสอนแบบใดมาสอน หรือจะผสมผสานการสอนแบบใดเข้าด้วยกันจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเนื้อหาของบทเรียนที่จะสอนเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎี
หรือหลักการต่อวิธีการสอนที่ควรนำมาใช้น่าจะเป็นแบบบรรยาย
ซึ่งถ้าเนื้อหานั้นเป็นประเด็นหรือปัญหาที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ อาจใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายเพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
หรือเนื้อหานั้นแสดงถึงความรู้สึกของบุคคลในเหตุการณ์ที่เป็นจริง อาจใช้วิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติก็ได้
หรือถ้าบทเรียนที่เป็นการฝึกฝนหรือการปฏิบัติ
อาจใช้การสอนแบบให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองจะเป็นวิธีการสอนที่ดีกว่าวิธีอื่น
ๆ
2.
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ก็เป็นตัวชี้นำให้ผู้สอนเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมเช่น
เดียวกัน เช่น
วัตถุประสงค์ระบุว่าต้องการให้ผู้เรียนจดจำหลักการทฤษฎีหรือเนื้อหาในเรื่องหนึ่ง
ๆ ได้ การสอนที่จะใช้วิธีการบรรยาย ซึ่งจะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ มากกว่าวิธีอื่น
แต่ถ้าวัตถุประสงค์ระบุว่า
ต้องการให้ผู้เรียนมีเจตคติโดยการแสดงความรู้สึกหรือความ
คิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆ แล้ว
การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์
บทบาทสมมติ การอภิปราย ฯลฯ
น่าจะเหมาะสมกว่า
บางกรณีวัตถุประสงค์ระบุว่าเมื่อผู้เรียนเรียนจนบทเรียนนั้น
ๆ
แล้วจะสามารถปฏิบัติหรือมีทักษะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้อง วิธีการสอนโดยการให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติน่าจะเป็นการสอนที่ดีกว่าการบรรยายหรือการอภิปราย เป็นต้น
3.
ผู้เรียน
ในการเลือกวิธีการสอนแบบหนึ่ง
ๆ หรือการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้า
ด้วยกันนั้น
ปัจจัยที่ควรประกอบการพิจารณาอีกอย่างหนึ่งคือผู้เรียน
การพิจารณาเกี่ยวกับผู้เรียนพิจารณาได้หลายแง่ด้วยกัน คือ
3.1
พื้นฐานความรู้
พิจารณาดูว่ากลุ่มผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้เพียงใด เพื่อจัดวิธี
การสอนที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น
ผู้เรียนที่มีความรู้ในระดับชั้นประถมปีที่ 3
ย่อมไม่เหมาะถ้าผู้สอนจะใช้วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติหรือการสืบสวนสอบสวน เพราะวิธีการสอนดังกล่าวผู้เรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูล การหาแหล่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาอาจใช้วิธีการสอนดังกล่าวได้
3.2
ความสนใจและความถนัด
ผู้สอนพิจารณาดูกลุ่มที่มีแนวโน้มที่สนใจเรื่องอะไร
และมีความหนักใจเรื่องใด เช่น
ถ้ากลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ถนัดในการพูดและการแสดงความคิดเห็น
วิธีการสอนที่เหมาะสมก็น่าจะเป็นวิธีการสอนแบบอภิปราย การเล่นเกม
เป็นต้น
3.3
ขนาดของกลุ่ม เรื่องนี้สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น
ขนาดของกลุ่มมี 50 คนขึ้นไป
ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ วิธีการสอนแบบที่เหมาะสมก็คือการบรรยายหรือการสาธิต
แต่ถ้ากลุ่มประกอบด้วยสมาชิกน้อยกว่านี้ก็อาจใช้วิธีการอภิปราย เกมการแสดงบทบาทสมมติ หรือการสอนแบบรายบุคคลก็ได้
3.4
สภาพแวดล้อมทางสังคมของผู้เรียน สภาพแวดล้อมในที่นี้ได้แก่ สภาพแวดล้อม
ของชุมชนที่ผู้เรียนเป็นสมาชิกอยู่ เช่น
สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะสังคม วัฒนธรรม
ศาสนา สภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
สภาพดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ผู้สอนควรพิจารณาประกอบเพื่อสามารถจัดการสอนให้เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้เรียน
3.5
ความแตกต่างระหว่างบุคคล บุคคลย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกาย
ความคิด ความสามารถ
ตลอดจนความสนใจ
การเลือกวิธีการสอนย่อมต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น
4.
ระยะเวลา
เวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดวิธีการสอน เช่น
บางบทเรียน
ผู้สอนมีเวลาจำกัด
ถ้าจะใช้วิธีการสอนที่ต้องใช้เวลามากย่อมทำไม่ได้ ต้องเลือกใช้การสอนแบบที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ
เป็นต้น
ตัวอย่างการผสมผสานการสอนแบบต่าง
ๆ
ปรีชา
คัมภีรปกรณ์ (2540 : 164-166) อ้างใน (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2522) กล่าวว่า โดยทั่วไปเมื่อจะทำการสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ผู้สอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสียก่อน โดยเริ่มวางแผนระดับหน่วย
แล้วจึงนำหน่วยการสอนนั้นมาวางแผนในระดับบทเรียนอีกครั้ง
ในการผสมผสานวิธีการสอนจะต้องมีการวางแผนว่าจะใช้วิธีการสอนอะไรบ้าง
ในที่นี้ใคร่ขอเสนอตัวอย่างการวางแผนการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ
ทั้งในระดับหน่วยการสอนและระดับบทเรียน
ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 การผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ ในระดับหน่วยการสอน
ในการวางแผนระดับหน่วยผู้สอนควรจะพิจารณาว่าจะใช้การสอนแบบใดให้ผสมผสานอย่างเหมาะสมที่สุด รูปแบบของการผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ
อาจทำได้ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
1)
ใช้วิธีสอนหลาย ๆ
แบบในหน่วยการสอน แต่ใช้วิธีการสอนแบบเดียวในบทเรียน
บทหนึ่ง
ๆ
ถ้าหากหน่วยการสอนนั้นมีการสอน 2 - 3
ครั้ง แล้วแยกเป็นบทเรียน 2 - 3
บทเรียน
ในการสอนบทเรียนที่หนึ่งอาจใช้วิธีการบรรยายไปตลอด
ในบทเรียนคราวต่อไปก็ใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายหรือฝึกปฏิบัติกิจกรรม เป็นต้น
ดังแผนภูมิข้างล่างนี้
แบบที่
1
หน่วยการสอน
|
วิธีการสอน
|
ครั้งที่ 1
บทเรียนที่
1
|
การบรรยาย
|
ครั้งที่ 2
บทเรียนที่
2
|
การอภิปรายหมู่
|
ครั้งที่ 3
บทเรียนที่
3
|
การฝึกปฏิบัติ
|
หรือ แบบที่
2
หน่วยการสอน
|
วิธีการสอน
|
ครั้งที่ 1
บทเรียนที่
1
|
การอภิปรายระดมความคิด
|
ครั้งที่ 2
บทเรียนที่
2
|
เกมจำลองสถานการณ์
|
ครั้งที่ 3
บทเรียนที่
3
|
ทัศนศึกษา
|
2)
ใช้วิธีการสอนแบบผสมแต่เน้นแตกต่างกัน
ถ้าใช้วิธีการสอนผสมผสานในแต่ละครั้ง
ให้เน้นวิธีการสอนที่แตกต่างออกไปในครั้งต่อไป ดังแผนภูมิต่อไปนี้
หน่วยการสอน
|
วิธีการสอน
|
ครั้งที่ 1
บทเรียนที่
1
|
เริ่มการสอนแบบบรรยาย
แล้วใช้วิธีสอนแบบรายบุคคลในขั้นปฏิบัติกิจกรรม สรุปด้วยการใช้คำถาม
|
ครั้งที่ 2
บทเรียนที่
2
|
เริ่มด้วยการอภิปรายระดมความคิด แล้วใช้การบรรยายในขั้นการดำเนินการสอน สรุปบทเรียนด้วยการใช้คำถาม
|
ครั้งที่ 3
บทเรียนที่
3
|
เริ่มด้วยการแสดงบทบาทสมมติแล้วใช้การสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย ในขั้นการดำเนินการสอน สรุปบทเรียนด้วยการบรรยาย
|
ตัวอย่างที่
2 การผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ ในระดับบทเรียน
การผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ
ไว้ในบทเรียนหนึ่ง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้เวลาในการเรียน 1 คาบหรือ
2 คาบติดต่อกันนั้น จะช่วยทำให้การเรียนการสอนในครั้งนั้น ๆ
มีความหมายและน่าสนใจอย่างยิ่ง
ในที่นี้ขอเสนอตัวอย่างการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง
ๆ โดยใช้การสอนแบบบรรยายเป็นหลัก ซึ่งอาจทำได้ในหลายลักษณะ ดังนี้
1)
ใช้การบรรยายขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย เริ่มต้นบทเรียน
หรือนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบเรื่องราวคร่าว ๆ
ที่จะเรียนหรือเป็นการให้แนวคิดเบื้องต้นในเรื่องที่จะเรียนนั้น เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว ก็เสนอวิธีการสอนแบบอื่น ๆ เช่น
การสอนแบบอภิปรายหรือการสอนแบบรายบุคคล
ดังแผนภูมิต่อไปนี้
แบบที่
1
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การบรรยาย
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การอภิปราย
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การบรรยายสรุป
|
หรือ
แบบที่
2
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การบรรยาย
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การทำรายงานค้นคว้าด้วยตนเอง
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การบรรยายสรุป
|
2)
ใช้การสอนแบบบรรยายในขั้นการเรียนการสอนหรือปฏิบัติกิจกรรม
ผู้สอนอาจหาวิธีการสอนแบบอื่น
ๆ ที่น่าสนใจ
เพื่อเรียกร้องให้ผู้เรียนสนใจ
อยาก
จะเรียนบทเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบต่าง
ๆ เป็นต้นว่า
การอภิปรายแบบระดมความคิด
การแสดงบทบาทสมมติ
การใช้คำถามในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
เมื่อเห็นว่าผู้เรียนสนใจแล้วจึงดำเนินการสอนต่อไปด้วยวิธีการบรรยาย
เมื่อถึงขั้นสรุปบทเรียนอาจหาการสอนแบบที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนมติในเรื่องที่เรียนไปทั้งหมด เช่น
การใช้คำถามเพื่อการสรุป
เป็นต้น ดังแผนภูมิต่อไปนี้
แบบที่
1
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การอภิปรายแบบระดมความคิด
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การบรรยาย
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การใช้คำถาม
|
หรือ
แบบที่ 2
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การแสดงบทบาทสมมติ
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การบรรยาย
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การอภิปราย
|
3)
ใช้การสอนแบบบรรยายในขั้นการสรุปบทเรียน
ในการสอนโดยทั่วไปอาจไม่จำเป็นจะต้องทำการบรรยายก่อน อาจเริ่มต้นด้วยการสอน
แบบต่าง
ๆ ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เช่น
ใช้วิธีการสอนแบบการอภิปรายระดมความคิดก่อน ในขั้นการสอนอาจใช้การอภิปรายแบบอภิปรายหมู่
และเมื่อจะสรุปบทเรียนก็อาจใช้วิธีการสอนแบบบรรยายได้ ดังแผนภูมิต่อไปนี้
แบบที่
1
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การอภิปรายแบบระดมความคิด
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การอภิปรายหมู่
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การบรรยาย
|
หรือ
แบบที่ 2
ขั้นการสอน
|
วิธีการสอน
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
การชมภาพยนตร์
|
ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
|
การทำรายงาน
|
ขั้นสรุปบทเรียน
|
การบรรยาย
|
ตัวอย่างที่นำมาเสนอนี้เป็นแนวทางในการวางแผนการเลือกวิธีการสอนทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในการวางแผนเพื่อผสมผสานการสอนแบบต่าง ๆ นั้น ผู้สอนควรมีข้อคำนึงดังนี้
1.
วัตถุประสงค์และเนื้อหาของการสอนเป็นสำคัญ
2.
ความพร้อมของผู้เรียน
3.
สื่อการสอนว่ามีพร้อมหรือไม่
4.
ระยะเวลาที่ใช้ในการสอน
5.
สถานที่
ข้อควรคำนึงเหล่านี้
จะทำให้การวางแผนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีคุณค่าต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง
สรุป
ข้อความรู้ที่ให้ข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้สนใจสามารถใช้วิธีสอนต่าง ๆ ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการสอนได้ตามต้องการ
สำหรับผู้สอนที่ปกติอาจจะใช้วิธีการที่ตนถนัดอยู่เพียง 2 - 3 วิธี ก็คงจะได้เห็นว่ามีวิธีสอนให้เลือกหลากหลายวิธี ควรจะศึกษาและลองใช้วิธีอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้การสอนน่าสนใจ และเกิดผลดีมากขึ้น โดยปกติแล้วการสอนโดยทั่วไปมักใช้วิธีสอนหลาย ๆ
วิธีร่วมกัน
เนื่องจากวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างเท่านั้น
ไม่สามารถสนองวัตถุประสงค์ได้ครอบคลุม
ตัวอย่างเช่น การบรรยาย เป็นวิธีที่ช่วยให้ถ่ายทอดเนื้อหาได้เร็ว แต่ผู้เรียนอาจไม่เกิดความเข้าใจชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่ถ่ายทอดเป็นเรื่องของกระบวนการหรือทักษะ
จำเป็นต้องใช้วิธีสอนโดยการสาธิตหรือทดลองเข้าช่วย หรือถ้าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้และความคิดที่หลากหลายในแง่มุมต่าง
ๆ ที่กว้างขึ้น
ก็ควรใช้วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยหากต้องการให้ระดับการเรียนรู้นั้นไปถึงขั้นการนำไปใช้วิเคราะห์ และสังเคราะห์
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ขั้นสูง
วิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอ
จำเป็นต้องใช้วิธีอื่น ๆ
เพิ่มเติม เช่น การใช้กรณีตัวอย่าง เป็นต้น
หากผู้สอนต้องการจะให้การเรียนรู้นั้น
เป็นการเรียนรู้ที่ไปปรับเปลี่ยนความรู้สึก และเจตคติของผู้เรียน วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ หรือสถานการณ์จำลอง อาจเข้ามาช่วยได้
ดังนั้นการที่ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีสอน
ยิ่งมากเท่าไรก็จะยิ่งช่วยให้มีทางเลือกมากขึ้นเท่านั้น หากผู้สอนมีการเลือกและใช้วิธีสอนที่หลากหลาย
นอกจากจะช่วยให้การสอนบรรลุผลได้มากขึ้นแล้ว
ยังช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ที่ต้องจำเจด้วยวิธีการที่จำกัด
การใช้วิธีสอนที่หลากหลายจะชวยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อยู่เสมอ
อนึ่งเมื่อศึกษาถึงวิธีสอนต่าง ๆ
ดังกล่าวแล้ว
คงมีผู้ที่เกิดความสงสัยและสับสนขึ้นมาว่า
วิธีสอนมีความแตกต่างจากรูปแบบการเรียนการสอนอย่างไร และแม้ผู้นั้นจะได้พยายามศึกษาหาคำตอบจากตำราต่างๆ แล้วก็ตาม
ก็คงจะไม่พบคำตอบ
เพราะโดยทั่วไปผู้ใดกล่าวถึงวิธีสอนใดก็จะอธิบายสาระของวิธีสอนนั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะอธิบายสาระของรูปแบบนั้น ๆ โดยไม่ได้แยกแยะความแตกต่างของ 2
เรื่องนี้ให้เห็นชัดเจน
จึงทำให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้เกิดความสับสน
โดยเฉพาะในหลาย ๆ กรณีที่ทั้งวิธีสอนและรูปแบบการเรียนการสอนใช้ชื่อเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติก็มี
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติก็มี
วิธีสอนโดยใช้การทดลอง
(หรือการแก้ปัญหา) ก็มี
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การทดลองหรือการแก้ปัญหาก็มี วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนก็มี รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนก็มี กรณีดังกล่าวจึงทำให้เกิดคำถามว่า เราจะสามารถบอกได้อย่างไรว่า สิ่งนั้นคือวิธีสอน สิ่งนี้คือรูปแบบการเรียนการสอน เสมอ
จากข้อมูลที่ได้ให้ไว้ในบทนี้ จะเห็นว่า
วิธีสอนแต่ละวิธีจะต้องมีองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นอยู่ ซึ่งทำให้วิธีนั้นแตกต่างไปจากวิธีอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่า
การดำเนินการเฉพาะตามขั้นตอนนั้นจะให้ผลสูงสุด เราจำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนเสริม หรือเทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เพื่อช่วยให้ได้ผลสูงสุด การตัดเติมเสริมต่อ ดังกล่าวนี้เป็นความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งปกติผู้สอนโดยทั่วไปมักจะทำอยู่แล้ว คือมีการปรับ
ดัดแปลง ตกแต่งวิธีสอนไป ต่าง ๆ นานา
เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะบางประการของผู้สอน ทำให้กลายเป็นแบบที่แตกต่างกัน
จนกระทั่งบางครั้งผู้สังเกตการสอนแทบจะดูไม่ออกว่า เป็นวิธีอะไร
การที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์จำแนกองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญของวิธีสอนแต่ละวิธีไว้ให้ ก็เพื่อช่วยให้ผู้สอนไม่หลงทาง เกิดความชัดเจนในสิ่งที่ทำและสามารถอธิบายได้ ดังเช่นในกรณีที่กล่าวมา หากสงสัยว่าการสอนที่สังเกต (หรือใช้)
เป็นวิธีใด ก็ควรวิเคราะห์ว่า การสอนนั้นมีองค์ประกอบหรือขั้นตอนสำคัญของวิธีนั้นครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบ
แสดงว่าไม่ได้ใช้วิธีสอนนั้นอย่างสมบูรณ์
หากครบก็แสดงว่า เป็นวิธีนั้น
แม้จะมีหน้าตาแตกต่างไปจากแบบของคนอื่น
และควรวิเคราะห์ต่อไปว่า
กระบวนการนั้นมีขั้นตอนเสริมและมีรายละเอียดอื่น ๆ
เพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอื่นใดเป็นพิเศษอีกหรือไม่
ถ้ามีก็ให้ถามต่อไปว่ากระบวนการดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบแผนให้ผู้อื่นสามารถทำตามได้หรือไม่
และกระบวนการที่เป็นแบบแผนดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ทดสอบอย่างเป็นระบบว่ามีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้มาแล้วหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ กระบวนการนั้นก็ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน ด้วยเหตุนี้
เราจึงพบว่ามีวิธีสอนบางวิธีที่เป็นทั้งวิธีสอนและรูปแบบการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดมีรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกออกจากวิธีสอนและในทางกลับกันอาจมีวิธีสอนที่เกิดมาจากรูปแบบการเรียนการสอนก็ได้ รูปแบบการเรียนการสอนนั้น
เป็นแบบแผนในการดำเนินการเรียนการสอนที่จัดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ
และได้รับการพิสูจน์ทดสอบแล้วว่าเป็นแบบแผนที่จะนำผู้เรียนไปสู่วัตถุประสงค์นั้นได้ดี ดังนั้นการใช้รูปแบบการเรียนการสอน จึงมิใช่จะใช้ในการสอนอะไรก็ได้ จะต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบเท่านั้น
และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของรูปแบบที่จัดไว้ให้
หากไปสลับสับเปลี่ยนโดยที่รูปแบบไม่ได้กำหนดไว้ อาจไม่ได้ผลตามที่รูปแบบได้พิสูจน์ทดสอบไว้แล้ว ซึ่งจะผิดกับวิธีสอนที่มีลักษณะที่กวาง สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้กว้างกว่า และสามารถปรับดัดแปลง เพิ่มเติมได้ตามที่ผู้สอนเห็นว่าสมควร
ตราบเท่าที่ยังคงองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นอยู่
หากผู้ใช้มีความเข้าใจในแก่นหรือสาระสำคัญนี้ ก็จะไม่สับสน
แม้จะมีผู้ใช้คำแตกต่างกันไปหลากหลาย
(ตามความพอใจของผู้ใช้) ก็จะทราบว่า คำที่เขาใช้อยู่นั้นใช้ในความหมายอะไร (ทิศนา
แขมมณี, 2550 : 382 - 383)
สรุปได้ว่าวิธีสอนเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินการสอน
วิธีสอนแบบใดแบบหนึ่งก็คือขั้นตอนในการดำเนินการสอนซึ่งมีองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น ดังนั้นผู้สอนจึงควรศึกษาให้เข้าใจลักษณะเด่นหรือแก่นสำคัญของวิธีสอนแต่ละวิธี
เพื่อช่วยให้สามารถใช้วิธีแต่ละวิธีได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของวิธีนั้น
ๆ นอกจากนั้นวิธีสอนบางวิธียังมีชื่อเป็นได้ทั้งวิธีสอนและรูปแบบการสอน ผู้สอนจึงจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนและรูปแบบการสอนอย่างชัดเจน
เพื่อจะได้สามารถวิเคราะห์และจำแนกความแตกต่างได้ วิธีสอนมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ครูผู้สอนจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบทเรียนและจุดมุ่งหมาย การใช้วิธีสอนหลากหลายวิธี นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนแล้ว
ยังสามารถช่วยให้บทเรียนมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น
และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย (ทิศนา
แขมมณี, 2550 : 383)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น