วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ไสว  ฟักขาว ( 2544 : 195 - 217)  กล่าวถึง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  มี   7  รูปแบบ  ดังนี้
1. รูปแบบ  Jigsaw  เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ  ผู้เสนอวิธีการนี้คนแรก คือ  อารอนสันและคณะ  (Aronson  and  Ohters, 1978 : 22 - 25)  ต่อมามีการปรับและเพิ่มเติมขั้นตอน  แต่วิธีการหลักยังคงเดิม  การสอนแบบนี้นักเรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาเพียงส่วนหนึ่งหรือหัวข้อย่อย  ของเนื้อหาทั้งหมด  โดยการศึกษาเรื่องนั้น ๆ  จากเอกสารหรือกิจกรรมที่ครูจัดให้  ในตอนที่ศึกษาหัวข้อย่อยนั้น  นักเรียนจะทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกัน  และเตรียมพร้อมที่จะกลับไปอธิบายหรือสอนเพื่อนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานของตนเอง
Jigsaw มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1)      การเตรียมสื่อการเรียนการสอน (Preparation of Materials) ครูสร้างใบงาน
ให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนของกลุ่ม  และสร้างแบบทดสอบย่อยในแต่ละหน่วยการเรียน  แต่ถ้ามีหนังสือเรียนอยู่แล้วยิ่งทำให้ง่ายขึ้นได้  โดยแบ่งเนื้อหาในแต่ละหัวข้อเรื่องที่จะสอนเพื่อทำใบงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ  ในใบงานควรบอกว่านักเรียนต้องทำอะไร  เช่น  ให้อ่านหนังสือหน้าอะไร อ่านหัวข้ออะไร  จากหนังสือหน้าไหนถึงหน้าไหน  หรือให้ดูวีดีทัศน์  หรือให้ลงมือปฏิบัติการทดลองพร้อมกับคำถามให้ตอบตอนท้ายของกิจกรรมที่ทำด้วย
2)      การจัดสมาชิกของกลุ่มและของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  (Teams  And  Expert 
Groups)  ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ  (Home  Groups)  แต่ละกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องตามใบงานที่ครูสร้างขึ้น  ครูแจกใบงานให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนในกลุ่ม  และให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนศึกษาใบงานของตนก่อนที่จะแยกไปตามกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  Groups)  เพื่อทำงานตามใบงานนั้น ๆ  เมื่อนักเรียนพร้อมที่จะทำกิจกรรม  ครูแยกกลุ่มนักเรียนใหม่ตามใบงาน  กิจกรรมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน  ครูพยายามกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาหัวข้อตามใบงานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นใบงานที่ครูสร้างขึ้นจึงมีความสำคัญมาก  เพราะในใบงานจะนำเสนอด้วยกิจกรรมที่แตกต่างกัน  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มอาจจะลงมือปฏิบัติการทดลองศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย  พร้อมกับเตรียมการนำเสนอสิ่งนั้นอย่างสั้น ๆ เพื่อว่าเขาจะได้นำกลับไปสอนสมาชิกคนอื่นๆ  ในกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาในหัวข้อดังกล่าว
3)      การรายงานและการทดสอบย่อย  (Reports  And  Quizzes)  เมื่อกลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญ แต่ละกลุ่มทำงานเสร็จแล้ว  ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนก็จะกลับไปยังกลุ่มเดิมของตัวเอง  (Home  Group)  แล้วสอนเรื่องที่ตัวเองทำให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ  ในกลุ่ม  ครูกระตุ้นให้นักเรียนใช้วิธีการต่าง ๆ ในการนำเสนอสิ่งที่จะสอน  นักเรียนอาจใช้วิธีการสาธิต  อ่านรายงาน  ใช้คอมพิวเตอร์  รูปถ่าย  ไดอะแกรม  แผนภูมิหรือภาพวาดในการนำเสนอความคิดเห็น  ครูกระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มได้มีการอภิปรายและซักถามปัญหาต่าง ๆ  โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้แต่ละเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนนำเสนอ
เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้รายงานผลงานกับกลุ่มของตัวเองแล้ว  ควรมีการอภิปราย
ร่วมกันทั้งห้องเรียนอีกครั้งหนึ่ง  หรือมีการถามคำถามและตอบคำถามในหัวข้อเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนได้ศึกษา หลังจากนั้นครูก็ทำการทดสอบย่อย  เกณฑ์การประเมินการให้คะแนนเหมือนกับวิธีการของ  STAD
วิธีการของ  Jigsaw  จะดีกว่า  STAD  ตรงที่ว่า  เป็นการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนมี
ความรับผิดชอบในการเรียนมากขึ้น    และนักเรียนยังรับผิดชอบกับการสอนสมาชิกคนอื่น ๆ ของ
กลุ่มอีกด้วย  นักเรียนไม่ว่าจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนจะต้องรับผิดชอบเหมือน ๆ กัน  ถึงแม้ว่าความลึกความกว้างหรือคุณภาพของรายงานจะแตกต่างกันก็ตาม
ขั้นตอนการสอนแบบ  Jigsaw  มีดังนี้
ขั้นที่  1  :  ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกของแต่ละ
กลุ่ม ถ้ากลุ่มขนาด 3  คน  ให้แบ่งเนื้อหาออกเป็น  3  ส่วน
ขั้นที่  2  จัดกลุ่มนักเรียนให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกัน  เป็นกลุ่ม
พื้นฐานหรือ  Home  Groups จำนวนสมาชิกในกลุ่มอาจเป็น  3  หรือ  4 คนก็ได้  จากนั้นแจกเอกสารหรืออุปกรณ์การสอนให้กลุ่มละ  1 ชุด หรือให้คนละชุดก็ได้
กำหนดให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบอ่านเอกสารเพียง  1  ส่วนที่ได้รับมอบหมาย
เท่านั้น  หากแต่ละกลุ่มได้รับเอกสารเพียงชุดเดียว  ให้นักเรียนแยกเอกสารออกเป็นส่วน ๆ ตามหัวข้อย่อยดังนี้
ในแต่ละกลุ่ม    นักเรียนคนที่  1 จะอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่  1
นักเรียนคนที่  2 จะอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่  2
นักเรียนคนที่  3 จะอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่  3

ขั้นที่  3  :  เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  Groups)  นักเรียนจะ
แยกย้ายจากกลุ่มพื้นฐาน  ไปจับกลุ่มใหม่เพื่อทำการศึกษาเอกสารส่วนที่ได้รับมอบหมาย  โดยคนที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเอกสารหัวข้อย่อยเดียวกัน  จะไปนั่งเป็นกลุ่มด้วยกัน  กลุ่มละ 3 หรือ 4 คน  แล้วแต่จำนวนสมาชิกของกลุ่มที่ครูกำหนด
ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  สมาชิกจะอ่านเอกสาร  สรุปเนื้อหาสาระ  จัดลำดับขั้นตอน 
การนำเสนอ  เพื่อเตรียมทุกคนให้พร้อมที่จะไปสอนหัวข้อนั้น  ที่กลุ่มเดิมของตนเอง
ขั้นที่ 4  :  นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับกลุ่มเดิมของตน  แล้วผลัด
เปลี่ยนเวียนกันอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟังทีละหัวข้อ  มีการซักถามข้อสงสัย  ตอบปัญหา  ทบทวนให้เข้าใจชัดเจน
ขั้นที่  5 :  นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดทุกหัวข้อ 
แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม
ขั้นที่  6 :  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด  จะได้รับรางวัล  หรือการชมเชย
การสอนแบบ  Jigsaw  เป็นการสอนที่อาจนำไปใช้ในการทบทวนเนื้อหาที่มี
หลาย ๆ หัวข้อหรือใช้กับบทเรียนที่เนื้อหาแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ  ได้  และเป็นเนื้อหาที่นักเรียนศึกษาจากเอกสารและสื่อการสอนได้

สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบ  Jigsaw มีดังนี้
1. ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาในกลุ่มที่ครูจัดไว้  (Home  Group)  คือ
   กลุ่ม  A           กลุ่ม  B           กลุ่ม  C           กลุ่ม  D
   1)  ด.ญ.  ก      1)  ……………     1)  …………….    1)  ……………
   2)  ด.ญ.  ก      2)  ……………     2)  …………….    2)  ……………
   3)  ด.ญ.  ก      3)  ……………     3)  …………….    3)  ……………
   4)  ด.ญ.  ก      4)  ……………     4)  …………….    4)  ……………
2. ครูแจกแบบฝึกให้ทุกกลุ่ม  กลุ่มละ 4 แบบฝึก  ซึ่งแต่ละแบบฝึกเป็นหัวข้อย่อย ๆ
ไม่เหมือนกัน  อาจจะเป็น  4 ระดับก็ได้ (ง่าย  ® ยาก)  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเลือกคนละ  1 แบบฝึก  โดยแต่ละคนในกลุ่มได้แบบฝึกไม่เหมือนกัน
   นักเรียน A1  อ่านและทำแบบฝึกที่  1
   นักเรียน A2  อ่านและทำแบบฝึกที่  2
   นักเรียน A3  อ่านและทำแบบฝึกที่  3
   นักเรียน A4  อ่านและทำแบบฝึกที่  4
     3. นักเรียนที่ได้แบบฝึกชุดเดียวกันจากแต่ละกลุ่มมานั่งด้วยกัน  เพื่อทำงาน 
ซักถามและทำกิจกรรมในแบบฝึก  เรียกกลุ่มนี้ว่า  Expert Groups

                         A1                              A2                                           A3                           A4
โต๊ะที่ 4
 
โต๊ะที่ 3
 
โต๊ะที่ 1
 
โต๊ะที่ 2
 
 


             B1                          C1    B2                   C2     B3 C3    B4         C3    B4                                          C4
                                 D1                              D2                                           D3                           D4
โดยแต่ละคนในกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงาน  เช่น
          นักเรียนคนที่  1  อ่านคำแนะนำ  คำสั่งหรือโจทย์ในแบบฝึก
          นักเรียนคนที่  2  จดบันทึกข้อมูลสำคัญ  แยกแยะสิ่งที่ต้องทำตามลำดับ
          นักเรียนคนที่  3  หาคำตอบ
          นักเรียนคนที่  4  สรุปทบทวน  และตรวจสอบคำถาม
          เมื่อนักเรียนทำแต่ละข้อหรือแต่ละส่วนเสร็จแล้ว ให้นักเรียนหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันในการทำโจทย์ข้อถัดไปทุกครั้งจนเสร็จแบบฝึกทั้งหมด
4.  นักเรียนแต่ละคนใน  Expert  Groups  กลับมายังกลุ่มเดิม  (Home  Groups)  ของตนผลัดกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง  เริ่มจากแบบฝึกที่  1, 2, 3, 4  (ง่าย  ®  ยาก)
5.   ทำการทดสอบนักเรียนทุกคนในห้อง (สอบเดี่ยว)  นำคะแนนแต่ละคนในกลุ่มมารวมเป็น  "คะแนนกลุ่ม"  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในบอร์ด
2.  รูปแบบ  STAD (Student  Teams – Achievement  Division)  (8. : 208-211)
สลาวิน  (Slavin : 1980)  ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม  (Student  Teams 
Learning  Method)  ซึ่งมี  รูปแบบ  คือ  student  Teams – Achievement  Divisions  (STAD)  และ  Teams – Games – Toumaments  (TGT)  ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น  Team  Assisted  Individualization  (TAI)  เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์  และ Cooperative  Integrated  Reading  and  Composition  (CIRC)  ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอนอ่านและการเขียน

 

หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีมของสลาวิน  ประกอบด้วย

1 .การให้รางวัลเป็นทีม  (Team  Rewards)  ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้นักเรียนพึ่งพากัน  จัดว่าเป็น  Positive  Interdependence
2. การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่ม อยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม
3. การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal  Opportunities For Success)  นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในรูปของคะแนนปรับปรุง  ดังนั้น  แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้  ด้วยการพยายามทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อน ๆ  นักเรียนทั้งเก่ง  ปานกลาง  และอ่อน ต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด  ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้
สำหรับรูปแบบ  STAD  เป็นรูปแบบหนึ่งที่  สลาวิน (Slavin) ได้เสนอไว้  เมื่อปี  ค.. 1980  นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ  5  ประการ  คือ
1. การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน  (Class Presentation) ครูเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมโนมติ ทักษะและ/หรือกระบวนการ การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียนนี้อาจใช้การบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยาย การใช้วีดีทัศน์หรือแม้แต่การให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน
2. การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams)  ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ  4 – 5  คน  ที่มีความสามารถแตกต่างกัน  มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย  และมีหลายเชื้อชาติ  ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มได้ทราบถึงหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่านักเรียนต้องช่วยเหลือกัน  เรียนร่วมกัน  อภิปรายปัญหาร่วมกัน  ตรวจสอบคำตอบของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไขคำตอบร่วมกัน  สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ให้กำลังใจและทำงานร่วมกันได้
หลังจากครูจัดกลุ่มเรียบร้อยแล้ว  ควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันจากใบงานที่ครูเตรียมไว้  ครูอาจจัดเตรียมใบงานที่มีคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน  เพื่อใช้เป็นบทเรียนของการเรียนแบบร่วมมือ  ครูควรบอกนักเรียนว่า  ใบงานนี้ออกแบบมาให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม  เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถาม  เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถามทุกคำตอบ  โดยแบ่งกันตอบคำถามเป็นคู่ ๆ  และเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้วก็จะเอาคำตอบมาแลกเปลี่ยนกัน  โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในการตอบคำถามแต่ละข้อให้ได้  ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1)      ต้องแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้อย่าง
ถูกต้อง
   2)  ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามทุกข้อให้ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือ
จากเพื่อนนอกกลุ่ม  หรือขอความช่วยเหลือจากครูให้น้อยลง
 3)  ต้องให้แน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนสามารถอธิบายคำตอบแต่ละข้อได้ 
ถ้าคำถามแต่ละข้อเป็นแบบเลือกตอบ
3. การทดสอบย่อย  (Quizzes)  หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว  ครูก็ทำการทดสอบย่อยนักเรียน  โดยนักเรียนต่างคนต่างทำ  เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่นักเรียนได้เรียนมา  สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน
4. คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน  (Individual Improvement Score) 
คะแนนพัฒนาการของนักเรียนจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนทำงานหนักขึ้น  ในการทดสอบแต่ละครั้งครูจะมีคะแนนฐาน  (Base  Score)  ซึ่งเป็นคะแนนต่ำสุดของนักเรียนในการทดสอบย่อยแต่ละครั้ง  ซึ่งคะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนได้จากความแตกต่างระหว่างคะแนนพื้นฐาน  (คะแนนต่ำสุดในการทดสอบกับคะแนนที่นักเรียนสอบได้ในการทดสอบย่อยนั้น ๆ ส่วนคะแนนของกลุ่ม  (Team  Score)  ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน
5. การรับรองผลงานของกลุ่ม  (Team  Recognition)  โดยการประกาศคะแนน
ของกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ทราบ  พร้อมกับให้คำชมเชย  หรือให้ประกาศนียบัตรหรือให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด  โปรดจำไว้ว่า  คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมีความสำคัญเท่าเทียมกับคะแนนที่นักเรียนแต่ละคนได้รับจากการทดสอบ
สำหรับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  เป็นดังนี้
ขั้นที่ 1 : ขั้นสอน  ครูดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้น
อาจเป็นกิจกรรมที่ครูบรรยาย  สาธิต  ใช้สื่อประกอบการสอน  หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง
ขั้นที่ 2 : ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม  แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4 – 5  คน 
ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน  สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจกัน  สมาชิกทุกคนจะต้อง
ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย

ครูเน้นให้นักเรียนทำดังนี้

ก.       ต้องให้แน่ใจว่า  สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ข.       เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหา  ให้นักเรียนช่วยเหลือกันภายในกลุ่มก่อนที่จะถามครูหรือถามเพื่อนกลุ่มอื่น
ค.       ให้สมาชิกอธิบายเหตุผลของคำตอบของแต่ละคำถามให้ได้  โดยเฉพาะแบบฝึกหัดที่เป็นคำถามปรนัยแบบให้เลือกตอบ
ขั้นที่ 3 : ขั้นทดสอบย่อย  ครูจัดให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย หลังจากนักเรียน
เรียนและทบทวนเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด  นักเรียนทำแบบทดสอบคนเดียวไม่มีการช่วยเหลือกัน
ขั้นที่ 4 : ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ  คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการ
พิจารณาความแตกต่างระหว่างคะแนนการทดสอบครั้งก่อน ๆ  กับคะแนนการทดสอบครั้งปัจจุบัน  ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนกำหนดไว้  ดังนั้น  จะต้องมีการกำหนดคะแนนฐานของนักเรียนแต่ละคน  ซึ่งอาจได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบ  3 ครั้งก่อน หรืออาจใช้คะแนนทดสอบครั้งก่อนหากเป็นการหาคะแนนปรับปรุงโดยใช้รูปแบบการสอน STAD เป็นครั้งแรก

การหาคะแนนพัฒนาการอาศัยเกณฑ์  ดังนี้

คะแนนจากแบบทดสอบ                        คะแนนพัฒนาการ

     ต่ำกว่าคะแนนพื้นฐานมากกว่า  10                   0

     ต่ำกว่าคะแนนพื้นฐาน  ระหว่าง 1 – 10           10
     เท่ากับคะแนนพื้นฐานถึงมากกว่า  10                20
     มากกว่าคะแนนพื้นฐาน  ตั้งแต่  10  ขึ้นไป          30

เมื่อได้คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนแล้ว  จึงหาคะแนนพัฒนาการของ
กลุ่ม  ซึ่งได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของสมาชิกทุกคน
ขั้นที่ 5 : ขั้นให้รางวัลกลุ่ม    กลุ่มที่ได้คะแนนพัฒนาการตามเกณฑ์ที่กำหนดจะ
ได้รับคำชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน
เกณฑ์การได้รับรางวัลมีดังนี้

คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม                         ระดับรางวัล

            15                                                      ดี
            20                                                    ดีมาก
            25                                                   ดีเยี่ยม
การจัดกิจกรรมรูปแบบ  STAD  อาจนำไปใช้กับบทเรียนใด ๆ ก็ได้  เนื่องจากขั้นแรก
เป็นการสอนที่ครูดำเนินการตามปกติ  แล้วจึงจัดให้มีการทบทวนเป็นกลุ่ม
3. รูปแบบ  LT  (Learning  Together) 
รูปแบบ  LT  (Learning  Together)  นี้  จอห์นสัน  และจอห์นสัน  (Johnson  and 
Johnson)  เป็นผู้เสนอในปี ค.. 1975  ต่อมาในปี ค.. 1984  เขาเรียกรูปแบบนี้ว่า  วงกลมการเรียนรู้  (Circles  of  Learning)  รูปแบบนี้มีการกำหนดสถานการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม  ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร  การแบ่งงานที่เหมาะสม  และการให้รางวัลกลุ่ม  ซึ่งจอห์นสันและจอห์นสันได้เสนอหลักการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือไว้ว่า
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือตามรูปแบบ  LT จะต้องมีองค์ประกอบ
ดังนี้
1.  สร้างความรู้สึกพึ่งพากัน  (Positive  Interdependence)  ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
นักเรียน  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี  คือ
1.1    กำหนดเป้าหมายร่วมของกลุ่ม  (Mutual  Goals)  ให้ทุกคนต้องเรียนรู้
เหมือนกัน
1.2    การให้รางวัลรวม  เช่น  ถ้าสมาชิกทุกคนของกลุ่มได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 
90 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม (Joint Rewards) สมาชิกในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนพิเศษอีกคนละ 5  คะแนน
1.3    ให้ใช้เอกสารหรือแหล่งข้อมูล  (Share  Resources)  ครูอาจแจกเอกสาร
ที่ต้องใช้เพียง  1 ชุด   สมาชิกแต่ละคนจะต้องช่วยกันอ่านโดยแบ่งเอกสารออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
1.4    กำหนดบทบาทของสมาชิกในการทำงานกลุ่ม  (Assigned  Roles)  งาน
ที่มอบหมายแต่ละงานอาจกำหนดบทบาทการทำงานของสมาชิกในกลุ่มแตกต่างกัน  หากเป็นงานเกี่ยวกับการตอบคำถามในแบบฝึกหัดที่กำหนด  ครูอาจกำหนดบทบาทของสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้อ่านคำถาม  ผู้ตรวจสอบ  ผู้กระตุ้นให้สมาชิกช่วยกันคิดหาคำตอบและผู้จดบันทึกคำตอบ
2.  จัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน  (Face – To – Face  Interaction) 
ให้นักเรียนทำงานด้วยกันภายใต้บรรยากาศของความช่วยเหลือและส่งเสริมกัน
3.  จัดให้มีความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้  (Individual  Accountability) 
เป็นการทำให้นักเรียนแต่ละคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงาน  ไม่กินแรงเพื่อน  ครูอาจจัดสภาพการณ์ได้ด้วยการประเมินเป็นระยะ  สุ่มสมาชิกของกลุ่มให้ตอบคำถามหรือรายงานผลการทำงาน  สมาชิกทุกคนจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่ม
4.  ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะสังคม(Social  Skills) การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี 
นักเรียนต้องมีทักษะทางสังคมที่จำเป็น  ได้แก่  ความเป็นผู้นำ  การตัดสินใจ  การสร้างความไว้ใจ  การสื่อสาร  และทักษะการจัดการกับข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
5.  จัดให้มีกระบวนการกลุ่ม  (Group  Processing)  เป็นการเปิดโอกาสให้
นักเรียนประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม  ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  และหาทางปรับปรุงการทำงานกลุ่มให้ดีขึ้น
จากหลักการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน  หรือ  Learning Together 
ที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ผลงานกลุ่ม  ในขณะทำงานนักเรียนช่วยกันคิดและช่วยกันตอบคำถาม  พยายามทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและทุกคนเข้าใจที่มาของคำตอบ  ให้นักเรียนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนก่อนที่จะถามครู  และครูชมเชยหรือให้รางวัลกลุ่มตามผลงานของกลุ่มเป็นหลัก
ในการนำรูปแบบนี้ไปใช้ควรดำเนินการดังนี้     
1.  กำหนดวัตถุประสงค์การสอนให้ชัดเจน
2.  จัดกลุ่มให้มีขนาดไม่เกิน  คน  หากนักเรียนยังใหม่ต่อการเรียนแบบร่วมมือ 
ควรใช้กลุ่มที่มีขนาดเล็ก  เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด  นักเรียนในแต่ละกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีเพศหญิงและเพศชาย  แต่ในบางครั้งการจัดนักเรียนที่มีความสามารถเหมือนกันเข้ากลุ่มเดียวกันเพื่อฝึกทักษะก็สามารถทำได้
3.  จัดให้มีนักเรียนนั่งหันหน้าเข้าหากันเป็นวง  เพื่อให้สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้
สะดวก
4.  จัดเอกสารหรือสื่อการสอนที่ทำให้นักเรียนต้องพึ่งพาอาศัยกัน  เช่น  จัดเอกสาร
ให้กลุ่มละชุดเดียว  เพื่อให้นักเรียนแบ่งกันดู  แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยให้แต่ละคนรับผิดชอบในการอ่าน  และทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่มเพื่อให้สมาชิกภายในกลุ่มต้องพึ่งพาช่วยเหลือกัน  ทำให้กลุ่มของตนเป็นกลุ่มที่ชนะ
5.  กำหนดบทบาทของสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้เกิดการพึ่งพากัน  ตัวอย่างบทบาทใน
การทำงานกลุ่มได้แก่  ผู้สรุปย่อ  ทำหน้าที่สรุปบทเรียน  ผู้ตรวจสอบ  ทำหน้าที่สอบถามเพื่อนสมาชิก  ผู้กระตุ้น  ทำหน้าที่ส่งเสริมชักชวนให้เพื่อนสมาชิกทุกคนแสดงความคิดเห็น  ผู้บันทึก  ทำหน้าที่จดบันทึกการตัดสินใจของกลุ่มหรือรายงานของกลุ่ม  ผู้สังเกต  ทำหน้าที่ตรวจสอบความร่วมมือระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม
6.  อธิบายงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำ
7.  แจ้งเงื่อนไขเพื่อจัดสภาพให้เกิดความเกี่ยวพันกันในเรื่องของเป้าหมายร่วม อาจ
ทำได้โดยกำหนดให้กลุ่มผลิตผลงานร่วมกันเพียง 1 ชิ้น หรือให้รางวัลกลุ่มจากผลงานของสมาชิกแต่ละคน
8.  จัดสภาพให้เกิดความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของแต่ละคน  ซึ่งจะทำให้ทุกคนมี
ส่วนให้กับกลุ่ม  เช่น  ครูจัดสอบนักเรียนเป็นรายบุคคล  ครูสุ่มเลือกสมาชิกของคนใดคนหนึ่งขึ้นมารายงานผลงานของกลุ่ม  หรือครูเลือกผลงานของสมาชิกคนใดคนหนึ่งมาเป็นตัวแทนของกลุ่มแล้วให้คะแนนกลุ่มจากผลงานของสมาชิกคนนั้น  เป็นต้น
9.  จัดสภาพให้เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่ม  เป็นต้นว่าให้ถามเพื่อนกลุ่มอื่นได้
เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
10.   อธิบายเกณฑ์ของความสำเร็จ  การให้คะแนนควรเป็นแบบอิงเกณฑ์มากกว่า
อิงกลุ่ม  สำหรับกลุ่มแบบแตกต่าง  (Heterogeneous  Groups)  เกณฑ์การให้คะแนนสำหรับแต่ละกลุ่มต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
11.   ระบุพฤติกรรมที่คาดหวัง  ในระยะแรกพฤติกรรมที่คาดหวัง  คือ  ให้อยู่กับกลุ่ม 
ถามชื่อเพื่อนสมาชิกในพฤติกรรมระดับที่ซับซ้อนขึ้น  ได้แก่  ให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปราย  ทุกคนเข้าใจ  และเห็นด้วยกับคำตอบของกลุ่ม
12.   ระหว่างที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม  ครูมีบทบาทดังนี้
12.1     สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อดำเนินการ
แก้ไขหากนักเรียนประสบปัญหาในการทำงานหรือปัญหาเกี่ยวกับการร่วมมือกัน
12.2     ให้ความช่วยเหลือนักเรียน  ครูจำเป็นต้องเข้าไปแทรกในระหว่างการ
ทำงานของนักเรียนเป็นครั้งคราว  เพื่อชี้แจงคำสั่ง  เพื่อตอบปัญหาข้อสงสัย  เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น  พูดคุย  และเพื่อสอนทักษะการเรียน
12.3     สอนทักษะการร่วมมือกันเพื่อให้สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13.   สรุปบทเรียนโดยนักเรียนและครู
14.   นักเรียนประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่มและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการ
ทำงานในครั้งต่อไป
15.   การประเมินผล
15.1     ประเมินผลงานของนักเรียน  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  ให้สมาชิกทุกคน
ในกลุ่มได้คะแนนเท่ากัน  ซึ่งเป็นการเสริมแรงให้นักเรียนร่วมมือกัน  หรือให้แรงเสริมแบบร่วมมือไปพร้อมกับการให้แรงเสริมรายบุคคล  โดยให้คะแนนเป็นรายบุคคลจากผลงานของแต่ละคนและให้รางวัลกลุ่มจากคะแนนรวมของสมาชิกในกลุ่ม  หรือนักเรียนได้คะแนนของตนเองรวมกับคะแนนพิเศษ  (Bonus  Points)  ที่ได้จากจำนวนสมาชิกภายในกลุ่มที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
15.2     ประเมินการทำงานของกลุ่มจากการสังเกตระหว่างเรียน  และการ
อภิปรายในขั้นกระบวนการกลุ่ม

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบ  LT 
1.  ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาเดิม  หรือความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
2.  ครูแจกแบบฝึกหรืองานให้ทุกกลุ่ม  กลุ่มละ  ชุดเหมือนเดิม  นักเรียนช่วย
ทำงานโดยแบ่งหน้าที่แต่ละคน  เช่น
นักเรียนคนที่ อ่านคำแนะนำ  คำสั่งหรือโจทย์ในการดำเนินงาน
นักเรียนคนที่ ฟังขั้นตอนและรวบรวมข้อมูล
นักเรียนคนที่ อ่านสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบแล้วหาคำตอบ
นักเรียนคนที่ ตรวจคำตอบ
เมื่อนักเรียนทำแต่ละข้อหรือแต่ละส่วนเสร็จแล้ว  ให้นักเรียนหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่
กันในการทำโจทย์ข้อถัดไปทุกครั้งจนเสร็จแบบฝึกทั้งหมด
3.  แต่ละกลุ่มส่งกระดาษคำตอบหรือผลงานเพียงชุดเดียว  ถือว่าเป็นผลงานที่
สมาชิกทุคนยอมรับ  และเข้าใจแบบฝึกหรือการทำงานชิ้นนี้แล้ว
4.  ตรวจคำตอบหือผลงานให้คะแนนด้วยกลุ่มเองหรือครูก็ได้  กลุ่มที่ได้คะแนน
สูงสุดจะได้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในบอร์ด
                4.  รูปแบบ  TAI (Team Assisted  Individualization)
TAI  (Team  Assisted  Individualization) คือ วิธีการสอนที่ผสมผสานระหว่าง
การเรียนแบบร่วมมือ  (Cooperative Learning) และการสอนรายบุคคล (Individualization Instruction) เข้าด้วยกัน โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรมในการเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของตนและส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

1.       จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4 – 5  คน  ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง  ปานกลาง 
และอ่อน
2.       ทดสอบจัดระดับ  (Placement  Test)  ตามคะแนนที่ได้
3.       นักเรียนศึกษาเอกสารแนะนำบทเรียน  ทำกิจกรรมจากสื่อที่ได้รับ  จบแล้วส่งให้
เพื่อนในกลุ่ม
·  ตอบถูกหมดทุกข้อ  ให้เรียนต่อ
·  ตอบผิดบ้างให้ซักถามเพื่อนในกลุ่มเพื่อช่วยเหลือก่อนที่จะถามครู
4.       เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดทักษะในสื่อที่ได้เรียนจบแล้ว
·  ทดสอบย่อยฉบับ  A เป็นรายบุคคล ส่งให้เพื่อนในกลุ่มตรวจ  ถ้าได้คะแนน 
75%  ขึ้นไป  ถือว่าผ่าน
·  ถ้าได้คะแนนไม่ถึง  75%  ให้ไปเรียนจากสื่อที่ศึกษาไปแล้วอีกครั้ง  แล้ว
ทดสอบฉบับ  เป็นรายบุคคล
5.       ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบประจำหน่วย  (Unit  Test)
·  ถ้าไม่ผ่าน  75%  ผู้สอนจะพิจารณาแก้ไขปัญหาอีกครั้ง
6.       ครูคิดคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม  แล้วจัดอันดับดังนี้
·  กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์สูง  ได้เป็น  Super Team  (ยอดเยี่ยม)
·  กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ปานกลาง  ได้แก่  Great  Team (ดีมาก)
·  กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ต่ำ  ได้แก่  Good Team (ดี)

5.      รูปแบบ  TGT  (Teams-Games-Tournaments) 
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามรูปแบบ  TGT  เป็นการเรียนแบบร่วมมือ
กันแข่งขันทำกิจกรรม  โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
ขั้นที่ 1  :  ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อน  ด้วยการซักถามและอธิบาย 
ตอบข้อสงสัยของนักเรียน
ขั้นที่ 2  :  จัดกลุ่มแบบคละกัน  (Home  Team)  กลุ่ม  3 – 4  คน
ขั้นที่ 3  :  แต่ละทีมศึกษาหัวข้อที่เรียนในวันนี้จากแบบฝึก  (Worksheet  And 
Answer  Sheet) นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของ Cooperative  Learning  เช่น  เป็นผู้จดบันทึก  ผู้คำนวณ  ผู้สนับสนุนเมื่อสมาชิกทุกคนเข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ  ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา
ขั้นที่ 4  :  การแข่งขันตอบปัญหา  (Academic  Games  Tournament)
5.1   ครูเป็นผู้จัดกลุ่มใหญ่  แบ่งตามความสามารถของนักเรียน เช่น
โต๊ะที่ เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถเก่งมาก
โต๊ะที่ และ เป็นโต๊ะแข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถ
ปานกลาง
โต๊ะที่ 4 เป็นโต๊ะที่แข่งขันสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถอ่อน
                ทีม 1                                       ทีม 1                                            ทีม 1                                     ทีม 1

ปานกลาง

 

ปานกลาง    

 

อ่อน

 

เก่ง

 
   ทีม 4                  ทีม 2           ทีม 4                          ทีม 2       ทีม 4                            ทีม 2       ทีม 4                      ทีม 2
                 ทีม 3                                         ทีม 3                                         ทีม 3                                       ทีม 3

5.2   ครูแจกซองคำถามจำนวน  10  คำถามให้ทุกโต๊ะ  (เป็นคำถาม
เหมือนกันทุกโต๊ะ)
5.3   นักเรียนเปลี่ยนกันหยิบซองคำถามทีละ  ซอง  (1  คำถามแล้ว
วางลงกลางโต๊ะ
5.4   นักเรียน  คน  ที่เหลือคำนวณหาคำตอบ  จากคำถามที่อ่านใน 
4.3  เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบที่แต่ละคนมีอยู่
5.5   นักเรียนคนที่ทำหน้าที่อ่านคำถามจะเป็นคนให้คะแนน  โดยมีกติกา
การให้คะแนนดังนี้
·  ผู้ตอบถูกเป็นคนแรก  จะได้  คะแนน
·  ผู้ตอบถูกคนต่อไป  จะได้คนละ  คะนน
·  ถ้าตอบผิด  ให้  คะแนน
5.6   ทำขั้นตอนที่ 4.3 – 4.5 โดยผลัดกันอ่านคำถามจนกว่าคำถามจะหมด
5.7   นักเรียนทุกคนรวมคะแนนของตัวเอง  โดยที่ทุกคนควรได้ตอบคำถาม
จำนวนเท่า ๆ กัน  จัดลำดับของคะแนนที่ได้  ซึ่งกำหนดโบนัสของแต่ละโต๊ะ  ดังนี้
โบนัส   ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดที่ 1 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ  จะได้โบนัส  10  แต้ม
     ผู้ที่ได้คะแนนรองที่   ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ  จะได้โบนัส  แต้ม
     ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุด  ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส  แต้ม
ขั้นที่ 5 : นักเรียนกลับมาสู่เดิม  (Home  Team)  รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่
มีแต้มโบนัสสูงสุด  จะให้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในมุมข่าวของห้อง

กระดาษคำตอบและคะแนน


ข้อที่
คำตอบ
คะแนนที่ได้
1


2


3


4


5


6


7


8


:


คะแนนรวม

อันดับที่ในกลุ่ม

คะแนนโบนัส

 


6.      รูปแบบ  GI  (Group  Investigation) 
GI  (Group Investigation)  พัฒนาโดย  Sharan  และคณะ  เป็นรูปแบบการเรียน
แบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างมาก  ปรัชญาของรูปแบบ  GI ก็คือ ต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
1.       นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตน  ในการแสวงหาความรู้ 
(หรือในการทำงาน)
2.       นักเรียนแต่ละคน  ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจ
ด้วย
3.       ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น  อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง  (หรือ
ทุกงาน)
4.       ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้  (สูตรหรือความสัมพันธ์หรือผลงาน
นำส่งอาจารย์เพียง  ฉบับเท่านั้น
5.       เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วน ๆ  หรือแยกทำได้
หลายวิธี  หรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ ได้  หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้น ๆ ได้
GI  มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน  ประการ คือ 
1.       การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา  (Topic  Selection)  นักเรียนเลือกหัวข้อที่
เฉพาะเจาะจงของปัญหาที่เลือก  แล้วกลุ่มจะแบ่งภาระงานออกเป็นงานย่อย ๆ ที่มีสมาชิก 2 – 5  คน  ร่วมกันทำงาน
2.       การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน  (Cooperative  Planning)  ครูและ
นักเรียนวางแผนร่วมกันในวิธีดำเนินการ  ภาระงานที่ทำ  และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อย่อยตามปัญหาที่เลือก
3.       การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้  (Implementation)  นักเรียนดำเนินงาน
ตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่ กิจกรรมและทักษะต่าง ๆ ที่นักเรียนจะต้องศึกษาควรมาจาก
แหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูจะให้คำปรึกษากับกลุ่มพร้อมกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ
4.       การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ  (Analysis  and  Synthesis)  นักเรียน
วิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่เขารวบรวมได้ในขั้นที่ และวางแผนหรือลงข้อสรุปในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.       การนำเสนอผลงาน  (Presentation  of  Final  Report)  กลุ่มนำเสนอผลงาน
ตามหัวข้อเรื่องที่เลือก  ครูต้องพยายามให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมขณะที่มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  เพื่อเป็นการขยายความคิดของตัวนักเรียนเองให้กว้างไกล  โดยเฉพาะในหัวข้อเรื่องที่กลุ่มไม่ได้ศึกษา  ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในระหว่างการนำเสนอผลงาน
6.       การประเมินผล  (Evaluation)  ครูและนักเรียนจะร่วมกันประเมินผลงานที่ถูกนำ
เสนอ  พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น  การประเมินผลอาจรวมทั้งการประเมินเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน 
ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร  ในการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษา  โดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกันในการ
ทำงาน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน  แบ่งออกเป็น  ขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้ 
1.       การทบทวนและชี้แจง  (5 – 10  นาที)
-          ครูและนักเรียนทบทวนความรู้เดิม  หรือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องทราบ หรือสามารถจัดทำเป็นมาก่อน
-          ครูบอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในคาบการสอนนี้
-          ครูอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติงานและวิธีการต่างๆ ของการเรียนแบบ GI
2.       การมอบหมายงานและปฏิบัติงาน  (10 – 15  นาที)
-          ครูจัดเตรียมใบงาน โดยแยกออกเป็น ส่วน หรือ  4 วิธีตามความเหมาะสม
(จัดแบ่งงานง่าย ยาก) มอบให้แต่ละกลุ่มเหมือนกัน
-          ภายในกลุ่มจัดแบ่งงานตามความถนัด  ความสามารถ  (อ่อน เก่ง)
-          แต่ละคนทำตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย  ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
3.       สรุปผลงาน  (15 – 20  นาที)
-          แต่ละคนนำผลงานของตนเสนอต่อเพื่อน ๆ  ในกลุ่มตามลำดับ 1 – 4
-          อธิบายลักษณะงานที่ได้รับ  การดำเนินงาน  จนถึงสรุปที่ได้  (หรือผลงานที่
แล้วเสร็จ)
-          เพื่อน ๆ สามารถร่วมอภิปรายหรือซักถาม แนวความคิด แนวการแก้ปัญหา
หรือเสนอความคิดเห็นอื่น ๆ ได้  จนทุกคนเข้าใจแจ่มชัดในทุกงานครบถ้วน
-          จัดทำเป็นรายงานร่วมกันหรือผลงานร่วมกันส่ง  ชุด
4.       การประเมินผล  ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลือ  เช่น
-          ให้นักเรียนนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียนหรือบนบอร์ด  แล้วครูผู้สอน
ประเมิน หรือตั้งกรรมการนักเรียนมาช่วยประเมินผลงานของกลุ่มต่าง ๆ (นอกเวลาเรียน)
-          ครูเลือกนักเรียนคนใดก็ได้ในแต่ละกลุ่มมารายงานผลการทำงานทั้งหมด 
ทุกคนต้องพร้อมที่จะรายงานทั้งหมดได้
-          จากคะแนนที่ได้  ครูชมเชย  หรือให้รางวัล  หรือเก็บสะสมคะแนนไว้ 
สำหรับการจัดหา  Super  Team ประจำสัปดาห์ต่อไป
7.      โปรแกรม CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition) 
CIRC คือ โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียนและทักษะทางภาษา 
(Language  arts)  ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย  โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอน  ในการพยายามนำการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้  โปรแกรม  CIRC  พัฒนาขึ้นโดย  Madden,  Slavin  และ  Stevens  ในปี 1986  นับว่าเป็นโปรแกรมที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม  ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือที่น่าสนใจยิ่ง  เนื่องจากเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นำการเรียนแบบร่วมมือมาใช้กับการอ่านและการเขียนโครงการ
CIRC – Reading สำหรับการอ่าน นักเรียนจะได้รับการสอนภายในกลุ่มการอ่าน 
หลังจากนั้นให้นักเรียนแยกออกเป็นทีม  เพื่อทำงานตามกิจกรรมแบบร่วมมือ  โดยการจับคู่กันอ่าน  การทำนายเรื่องที่อ่าน  การสรุปเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง  การเขียนตอบคำถามจากเรื่อง  การฝึกสะกดคำศัพท์  การถอดรหัสและฝึกเรื่องคำศัพท์    นักเรียนทำงานร่วมกันในทีมเพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้  และได้ทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการอ่าน
CIRC – Writing/Language  Arts  สำหรับการเขียน วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ
กระบวนการเขียน  ซึ่งใช้รูปแบบทีมเหมือนกับโปรกรม  CIRC  สำหรับการอ่าน  วิธีการนี้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อวางแผน  (plan)  ร่างต้นฉบับ  (draft)  ทบทวนแก้ไข  (revise)  รวบรวมและลำดับเรื่อง  (edit)  และพิมพ์หรือแสดงผลงาน  (publish)  เรื่องที่แต่งออกมา  โดยครูเป็นผู้เสนอเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทาง  (style)  เนื้อหา  และกลวิธีของการเขียน
CIRC  สำหรับการอ่านและการเขียนนั้น  โดยปกติแล้วจะใช้ควบคู่ไปด้วยกัน  แต่
กระนั้นก็สามารถใช้โปรแกรมนี้แยกในการสอนอ่าน  หรือสอนการเขียนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้
โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ  มีลักษณะกิจกรรมโดยรวมดังนี้คือ 
1.       การสอนเริ่มต้นจากครูเสมอ  (Teacher  Instruction)
2.       การฝึกปฏิบัติภายในทีม (Team  Practice) นักเรียนทำงานในกลุ่มซึ่งมีสมาชิก
4 – 5 คน โดยมีความสามารถแตกต่างกัน เรียนรู้กันจากที่ครูได้มอบหมายให้โดยการใช้  Worksheet  หรืออุปกรณ์การฝึกอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เรียน  นักเรียนจะได้ประเมินเพื่อนสมาชิกในกลุ่มซึ่งกันและกัน
3.       นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Individual  Assessment) ในเรื่อง
ของข้อความรู้หรือทักษะที่เขาได้รับในบทเรียน
4.       คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน  จะรวมเป็นคะแนนของทีม  (Team 
Recognition)  ทีมใดที่ได้คะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลอื่น ๆ

 

การจัดกลุ่มนักเรียน 

นักเรียนจะทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด  ภายในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีนักเรียนซึ่งมี
ความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มการอ่าน  (Reading  Groups)  นั้น  นักเรียนจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มการอ่าน  จำนวน  2 – 3  กลุ่ม  ขึ้นอยู่กับระดับการอ่านของเขา  โดยครูเป็นผู้กำหนดให้ว่า  นักเรียนคนใดจัดว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง  ปานกลาง  หรืออ่อน 
ทีม  (Teams) 
หลังจากการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มการอ่านแล้ว  ครูจะกำหนดให้นักเรียนจับคู่
กันแล้วแต่ละคู่จะถูกกำหนดให้เป็นทีม  ที่ประกอบด้วยสมาชิกอีกคู่หนึ่งที่มาจากกลุ่มการอ่านอื่น  ตัวอย่างเช่น  ในทีมหนึ่งประกอบด้วยนักเรียนสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่เก่ง  (Top  Reading  Group)  และนักเรียนอีกสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่อ่อนกว่า  (Low  Reading  Group)  ส่วนนักเรียนที่จัดว่ามีปัญหาทางการอ่าน  ก็ให้กระจายกันอยู่ในทีมต่าง ๆ  มีกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนหลายกิจกรรมที่จะต้องทำงานร่วมกันแบบเป็นคู่ ๆ  แต่อย่างไรก็ตาม  อีกคู่หนึ่งที่อยู่ในทีมเดียวกันสามารถช่วยเหลือกันได้  นักเรียนในทีมจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานที่เป็นอิสระจากครู

การให้คะแนน 

คะแนนของนักเรียนได้จากการตอบคำถาม (Quizzes) การแต่งประโยค 
(Composition)  และสมุดรายงาน  (Book  Reports)  โดยนำมารวมกันเป็นคะแนนของทีม
·  ทีมที่ทำคะแนนในทุกกิจกรรมได้ถึงเกณฑ์  90%  (กิจกรรมที่ได้รับในสัปดาห์
หนึ่ง ๆจะได้รับการประกาศว่าเป็น  “Super  Team”  และได้รับประกาศนียบัตร
·  ทีมที่ทำคะแนนได้  80 – 90%  จะได้รับประกาศให้เป็น  “Great  Team”  และได้
รับใบประกาศนียบัตรในระดับรองลงมา

ขั้นตอนการดำเนินการ  สามารถทำได้ตามขั้นตอนในตารางต่อไปนี้

ตารางที่  5  กิจกรรมการฝึกอ่านในหนึ่งครั้งของกลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรม  CIRC

ขั้นตอน
วิธีการ
การทำงานของนักเรียน

1
แจกเรื่องสำหรับอ่านให้นักเรียนทุกคน  ครูแนะนำ  คำศัพท์ใหม่  ทบทวนคำศัพท์เก่า ให้นักเรียนตั้งจุดประสงค์ในการอ่าน

ทุกคน
2
นักเรียนอ่านเรื่องเองในใจครึ่งเรื่อง
ทุกคน

3
จับคู่กันผลัดกันอ่านคนละ  วรรค  ขณะที่คนหนึ่งอ่าน  อีกคนหนึ่งจะต้องคอยตามไปด้วยเพื่อตรวจดูว่าคู่ของตนอ่านผิดหรือไม่  จะได้ช่วยกันแก้ไข

จับคู่

4
เมื่ออ่านมาได้ครึ่งเรื่องให้นักเรียนหยุด  เขียนบรรยายลักษณะของเรื่อง  ทำนายเรื่องต่อไปว่าปัญหาจะถูกแก้ไขอย่างไร  เขียนลงในกระดาษของตนเอง  แล้วเขียนตอบเป็นผลงานของทีมอีก  ชุด

ทุกคน  (ช่วยกัน)
5
นักเรียนอ่านเองในใจต่อจนจบ แล้วจับคู่ผลัดกันอ่านคนละวรรคจนจบเรื่อง
ทีม ชุด  (ช่วยกัน)
ทุกคนจับคู่

6
แจกรายการคำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ยากจากเรื่อง ให้นักเรียนจับคู่กับสมาชิกในทีม  ฝึกอ่านออกเสียงจนสามารถอ่านได้ถูกต้องและคล่องแคล่ว

จับคู่กันในทีม

7

แจกรายการคำจากเรื่องที่อ่านให้นักเรียนเขียนแสดงความหมายของคำ  วลี  หรือเขียนประโยคแสดงความหมายของแต่ละคำ

ทุกคน  (ช่วยกัน)

8
นักเรียนอภิปรายเรื่องที่อ่านกันภายในกลุ่ม  แล้วให้นักเรียนสรุปประเด็นหรือจุดสำคัญของเรื่องกับคู่ของตน โดยให้นักเรียนใช้คำพูดของตนเอง  แล้วให้ช่วยกันเขียนสรุปเป็นผลงานของทีม  ชุด  (ช่วยกัน)
ทีม ชุด  (ช่วยกัน)
ทุกคน  (ช่วยกัน)
ทุกคน
ตารางที่ 5  กิจกรรมการฝึกอ่านในหนึ่งครั้งของกลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรม CIRC (ต่อ)

ขั้นตอน
วิธีการ
การทำงานของนักเรียน
9
แจกรายการทำที่เขียนไม่สมบูรณ์  (Disappearing  List  ให้นักเรียนผลัดกันถามเพื่อสะกดคำให้ถูกต้อง  (ขั้นตอนนี้ทำการฝึก  ครั้ง  เว้น  ครั้ง)
ทุกคน
(ผลัดกันในทีม)
10
ให้นักเรียนแต่ละคนประเมินสมาชิกในทีมทุกคนว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ทุกคน


11
หลังจากเรียน  2   ครั้งแล้ว  นักเรียนจะถูกทดสอบโดยให้เขียนประโยคจากคำศัพท์ที่กำหนดให้  ทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  และอ่านรายการคำศัพท์แบบออกเสียงให้ครูฟัง  ในขั้นนี้  นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือกันได้  (ประกาศทีมยอดเยี่ยมทุกครั้งที่ ของการฝึกฝน
 
ทุกคน

 

การสังเกตพฤติกรรมการร่วมมือในชั้นเรียน 

             การสังเกตเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ที่เปิดโอกาสให้ผู้รวบรวมข้อมูลสัมผัสกับความเป็นจริงและสิ่งที่ต้องการจะรวบรวมด้วยตัวเอง  ทำให้มีโอกาสที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตรงสภาพความเป็นจริงได้มากและสามารถที่จะรวบรวมรายละเอียดของข้อมูลในแนวลึกได้  การสังเกตพฤติกรรมการร่วมมือในชั้นเรียนของนักเรียนโดยใช้วิธีการสังเกต  จะช่วยให้ได้รายละเอียดของพฤติกรรมที่แสดงถึงการร่วมมือของนักเรียนในชั้นเรียนได้ชัดเจนขึ้น
การสังเกตเป็นวิธีการพื้นฐานที่จะได้ข้อมูลมาตามต้องการ  ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้นั้น  ผู้สังเกตต้องมีลักษณะดังนี้
       1.   ความตั้งใจของผู้สังเกต  (Attention)  ในการสังเกตพฤติกรรมของสิ่งใด ผู้สังเกตต้องมีเป้าหมายที่จะสังเกตว่าศึกษาสิ่งใด ต้องสะกดใจอย่างแน่วแน่ในการสังเกตแต่สิ่งนั้น จิตใจไม่ไขว้เขวไปมา และจะต้องสังเกตไปทีละอย่างอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ผู้สังเกตยังต้องขจัดปัญหาส่วนตัวหรือความลำเอียงส่วนตัวของตนเองออกในระยะที่ทำการสังเกต เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง
       2.   ประสาทสัมผัส  (Sensation)  ทางด้านประสาทสัมผัสต้องแน่ใจว่าประสาท
สัมผัสของผู้สังเกตจะต้องทำงานปกติหรือสภาพร่างกายต้องปกติด้วย  เพราะถ้าหากว่าสภาพร่างกายปกติแล้ว  จะมีผลต่อประสาทสัมผัสอยู่ในสภาพดี  และว่องไวต่อการสัมผัสสิ่งที่กำลังสังเกต
      3.   การรับรู้  (Perception)  ในการสังเกตสิ่งที่กำลังศึกษา ผู้สังเกตจะต้องมีการรับรู้ที่ดี เมื่อรับรู้มาแล้วสามารถแปลความหมายออกมาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

หลักการสังเกต 
ผู้สังเกตที่ดี  คือ  ผู้ที่ทำการสังเกตแล้วได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด  ซึ่งผู้สังเกตจะเป็นผู้สังเกตที่ดีได้นั้นต้องมีหลักในการสังเกต  ดังนี้
1.   กำหนดการสังเกตให้จำกัดเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ  ไป  ไม่ใช่เห็นสิ่งใดมากระทบแล้วรับไวหมด
2.   สังเกตอย่างมีความมุ่งหมาย  มิใช่ว่าสังเกตไปเรื่อย ๆ  คือ  ต้องมีจุดมุ่งหมายที่จะดู  เมื่อพบเห็นแล้วแปลความหมายออกมาว่าคืออะไร
3.   สังเกตด้วยความพินิจพิเคราะห์จนสามารถมองเห็นรายละเอียดของเรื่องนั้นได้
อย่างลึกซึ้ง  มิใช่ว่ามองเห็นแต่ผิว  หรือลักษณะของภายนอกเท่านั้น
5.       เมื่อสังเกตแล้วต้องมีการบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ  จะได้ไม่หลงลืม
รายละเอียดที่ได้สังเกตมา
8.       ผู้สังเกตควรใช้แบบตรวจสอบรายการ  (Checklist)  หรือเครื่องมือวัดอื่น ๆ
ประกอบในการสังเกตนี้ด้วย

ประเภทของการสังเกต 
การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  (Participant  Observation) หมายถึง  การสังเกตที่
ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในกลุ่มที่ตนศึกษา  และมีการทำกิจกรรมร่วมกัน  โดยผู้วิจัยเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของกลุ่มหรือสถานการณ์ที่ศึกษา  เช่น  เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนนั้น  เมื่อต้องการศึกษาถึงชีวิตของคนในชุมชนนั้น  ข้อดีคือ  จะได้ข้อมูลที่แท้จริง  จุดด้อยคือ  อาจเกิดจากผู้สังเกต  ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความเที่ยงตรง
1.        การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  (Non - participant  Observation)  หมายถึง 
การสังเกตที่ผู้วิจัยกระทำตนเป็นบุคคลภายนอก  ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กลุ่มกำลังทำกันอยู่  การไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในความหมายนี้  หมายถึง  ไม่เข้าไปร่วมในกิจกรรมของกลุ่มนั้นเท่านั้น  ไม่ได้หมายถึงการไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณสถานที่ด้วย  มักใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึก  รบกวนจากตัวผู้สังเกต  ผู้สังเกตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เท่านั้น

ระบบการบันทึกข้อมูล 
ระบบการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนี้  ได้มีการแบ่งไว้หลายระบบ  ดังนี้
1. ระบบเครื่องหมาย  (Sign  System)  เป็นระบบที่ประกอบด้วยรายการ
พฤติกรรมต่าง  ๆ  โดยผู้สังเกตจะบันทึกข้อมูลโดยทำเครื่องหมายลงในแบบสังเกต  เพื่อแสดงว่ามีพฤติกรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น  การบันทึกข้อมูลระบบนี้  มีลักษณะสนใจว่ามีพฤติกรรมใดเกิดขึ้น  แต่ไม่สนใจว่าพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นบ่อยเพียงใด
2. ระบบจำแนกประเภท  (Category System) ระบบนี้จะจำแนกพฤติกรรมที่
ต้องการสังเกตออกเป็นประเภท  แต่ละประเภทจะใช้รหัสหรือตัวอักษรแทนพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเพื่อความสะดวกในการบันทึก  การบันทึกข้อมูลจะคำนึงถึงความถี่ของพฤติกรรมแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นด้วย  (Cartwright and  Cartwright,  1984)
สำหรับ อีเวอร์ทสันและฮอลลีย์  (Evertson  and  Holley, 1982 : 329)  ได้เสนอ

ระบบการบันทึกการสังเกตไว้ต่างออกไป โดยสรุปได้  คือ  ระบบมาตราจัดอันดับ  (Rating  System)  เป็นระบบที่ได้มีการระบุพฤติกรรมที่ต้องการศึกษาไว้แล้ว  แต่ผู้สังเกตจะสังเกตพฤติกรรมตลอดคาบเรียนก่อนแล้วจึงบันทึกข้อมูลในภายหลัง  ในการใช้ระบบการบันทึกนี้  ผู้สังเกตต้องอาศัยความรู้สึกรวม ๆ  ประเมินพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สังเกตมาตลอดคาบเรียน  แล้วจึงบันทึกข้อมูลโดยจัดอันดับว่า  พฤติกรรมที่ระบุไว้นั้นควรจัดอยู่ในระดับมากน้อยเพียงไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น